Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เศรษฐกิจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เศรษฐกิจ, 47 found, display 1-47
  1. เศรษฐกิจ : [เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ? + กิจฺจ).
  2. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  3. ฟาสซิสต์ : น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นํารวบอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพ ในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. (อ. fascism, fascist).
  4. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  5. อารยธรรม : น. ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง ศีลธรรม และกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.
  6. กาแฟ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
  7. เกษตรและสหกรณ์ : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร การเศรษฐกิจการเกษตร การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร การชลประทาน การประมง การปศุสัตว์ การป่าไม้ การพัฒนาที่ดิน และการสหกรณ์.
  8. ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
  9. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  10. คอมมิวนิสต์ : น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็น ผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
  11. เงินฝืด : (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทําให้ราคาสินค้าตก.
  12. เงินเฟ้อ : (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มากเกินไปทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า.
  13. ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
  14. ดุลอำนาจ : [ดุน-] น. การถ่วงอํานาจระหว่างประเทศให้มีพลังทางเศรษฐกิจ หรือทางทหารทัดเทียมกัน.
  15. ทุนนิยม : น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ ทรัพยากรที่เป็นทุนมีเสรีภาพในการผลิต และการค้า. (อ. capitalism).
  16. ธนาคารโลก : น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
  17. นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
  18. ประชากรศาสตร์ : น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่ อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวม ทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
  19. ผังเมือง : (กฎ) น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง ในด้านสุขลักษณะ ความสะดวก สบายความเป็นระเบียบความสวยงาม การใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม.
  20. ฝ่ายขวา : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม.
  21. ฝ่ายซ้าย : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้น นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง, โดยทั่วไป ใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.
  22. ฝ่ายเป็นกลาง : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา.
  23. ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
  24. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  25. พาณิชย, พาณิชย์ : [พานิดชะยะ, พานิด] น. การค้าขาย; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการ พาณิชย์รวมตลอดทั้งการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุม และส่งเสริมเกี่ยวกับกิจการค้าและการประกันภัย. (ส. วาณิชฺย; ป. วาณิชฺช).
  26. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  27. ภาว–, ภาวะ : [พาวะ–] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
  28. ภูมิภาค : [พูมมิ–, พูมิ–] น. หัวเมือง; (ภูมิ) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่าง เช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียง โดยรอบ.
  29. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้.
  30. มหาอำนาจ : ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.
  31. เยียวยา : ก. บําบัดโรค, แก้โรค, เช่น ไม่มีหมอจะมาเยียวยาได้; แก้ไข, ทําให้ดีขึ้น, เช่น เศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก ยากที่จะเยียวยาได้.
  32. รัดเข็มขัด : (ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชน ต้องรัดเข็มขัด.
  33. เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
  34. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  35. วิทยากร : น. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).
  36. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  37. สงครามเย็น : น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อํานาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
  38. สถาน ๒, สถานะ : [สะถานะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะ ยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติ เป็นของเหลว.
  39. สวนป่า : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.
  40. สวนรุกขชาติ : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ ไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียน ป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. (อ. arboretum).
  41. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  42. หนักสมอง : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
  43. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  44. หนักอก : ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก. ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น หนักอกหนักใจ.
  45. หอการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผล กําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  46. อนุรักษนิยม : [อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม] น. อุดมคติทาง การเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทาน การเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.
  47. อภิมหาอำนาจ : ว. เรียกประเทศที่มีอํานาจทางด้านเศรษฐกิจและทางทหารสูงกว่า ประเทศมหาอํานาจว่า ประเทศอภิมหาอำนาจ.
  48. [1-47]

(0.0132 sec)