คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
ทัด ๒, ทัดเทียม : ว. เท่าเทียม, เสมอ, เช่น ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกัน. (พงศ. เลขา).
ทุกเมื่อ : ว. ทุกขณะ, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เสมอ, เมื่อใดก็ได้.
นิพัทธ, นิพัทธ์ : [นิพัดทะ, นิพัด] (แบบ) ว. เนือง ๆ, เสมอ, เนื่องกัน. (ป.).
นิภา : น. แสง, แสงสว่าง. (ป., ส.). (แบบ) ก. เทียม, เสมอ, เทียบ. (ป., ส. นิภ).
ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
เพลงเสมอ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.
เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
เพี้ยง : ว. เท่า, เสมอ, เหมือน. (ใช้ในโคลงแทน เพียง). อ. คําที่เปล่งออกมา เมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ระเรื่อย : ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย, เสมอ, ไม่ขาด, ไม่หยุด,ไม่พัก.
สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
อาจิณ, อาจิณ : [จิน, จินนะ] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
วงรี : น. รูปวงที่กลมเรียวอย่างลูกสมอหรือเมล็ดข้าวสาร; (คณิต) รูปคล้ายรูปไข่ที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซตหนึ่ง โดยผลบวก ของระยะจากจุดแต่ละจุดไปยังจุดตรึงอยู่กับที่ ๒ จุด มีค่าคงตัว เสมอ.
ขมัง ๒ : [ขะหฺมัง] (โบ) ว. แรง, แข็งขัน, เช่น สองอาจแข็งขมังขึ้น แบ่งให้กัน เสมอ. (กําสรวล).
ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
ชระบาบ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ราบเรียบ, เสมอ.
เชื่อวัน : ว. คําใช้เข้าคู่กับคํา ทุกเมื่อ เป็น ทุกเมื่อเชื่อวัน หมายความว่า ทุกขณะ, ทุกวัน, เสมอ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
ท่อ ๔ : (ถิ่น-อีสาน) ว. เท่า, เสมอ.
เนืองนิตย์ : ว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
เป็นนิตย์ : ว. เสมอ ๆ, เนือง ๆ.
เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
ว่างเว้น : ก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมา เสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.
หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
หมักหมม : ก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้ เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.
กระดำกระด่าง : ว. ดํา ๆ ด่าง ๆ, สีไม่เสมอกัน.
กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
กรีฑารมย์ : ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์. (สมุทรโฆษ).
กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษมา ๑ : [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา).
กะดำกะด่าง : ว. ดํา ๆ ด่าง ๆ, สีไม่เสมอกัน.
กะบ่อนกะแบ่น : ว. กระท่อนกระแท่น, ไม่เสมอทั่วกัน, ไม่เรียบเสมอกัน, เช่น ตัดผมกะบ่อนกะแบ่น ทาสีกะบ่อนกะแบ่น.
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
กัน ๑ : (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
กัน ๔ : ก. โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว กันคอ กันหน้า. (ข. กาล่).
กุ้งนาง : น. กุ้งก้ามกรามเพศเมียลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน.
เก็บผม : ก. เอากรรไตรเล็มผมให้เสมอกัน.
เกลี่ย : [เกฺลี่ย] ก. กระจายของออกไปให้เสมอกัน.
เกลี่ยไกล่ : ก. พูดจาให้ตกลงกัน, พูดให้ปรองดองกัน; ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, ไกล่เกลี่ย ก็ว่า.
เกลือจืด : น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทํานาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือ เกลือที่ ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก.
เกียด ๓ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ปาดให้เสมอ.
แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
ไกล่เกลี่ย : ก. พูดจาให้ปรองดองกัน, พูดจาให้ตกลงกัน; ลูบไล้; ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เกลี่ยไกล่ ก็ว่า.
ขมิ้นกับปูน : (สํา) ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน.
ขยัน ๑ : [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
ขอบคุณ, ขอบพระคุณ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
ข้า ๒ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่ พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.