แล้ว ๒ : ก. จบ, สิ้น, เสร็จ, เช่น งานแล้วหรือยัง.
ใบเสร็จ : น. เอกสารที่แสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว.
ผสมเสร็จ : ดู สมเสร็จ.
พร้อม : [พฺร้อม] ว. คําแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน, โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่นงามพร้อม ดีพร้อม เตรียม พร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว. ก. เตรียมครบถ้วน เช่น พร้อมแล้ว.
เบ้าขลุบ : น. เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้น เสร็จ เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์ นั้น.
แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
กรม ๕ : [กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคําว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกํานนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
กระเกรียม : (โบ; เลิก) ก. ตระเตรียม, จัดไว้ให้บริบูรณ์, เช่น กระเกรียมพร้อมเสร็จสําเร็จการ. (คาวี).
กรานกฐิน :
[-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
กล้อมแกล้ม : [กฺล้อมแกฺล้ม] ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า.
กลางคัน : ว. ในระหว่างเหตุการณ์, ในระหว่างที่ยังไม่เสร็จ.
ก่อแล้วต้องสาน : (สํา) ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทําต่อให้เสร็จ.
กะล่อมกะแล่ม : ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กล้อมแกล้ม ก็ว่า.
กัป :
[กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).
กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
กำลอง : (โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).
เก๋งพั้ง : น. เรือสําปั้นขนาดใหญ่มีเก๋งกลางลํา เช่น เรือเก๋งพั้งทั้งสอง สํารองเสร็จ. (นิ. ลอนดอน).
ขยักขย่อน : [-ขะหฺย่อน] ก. ทํา ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว.
ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
ขะมักเขม้น : [ขะมักขะเม่น, ขะหฺมักขะเม่น] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว เสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
ขิ่ง : ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
เขม้นขะมัก : [ขะเม่น-] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, ขะมักเขม้น ก็ว่า.
แข่งเกมวิบาก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือ ทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่า ลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
ค้าง ๑ : ก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่, เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กําหนด เช่น ทํางานค้าง; เหลือกหรืออ้าแล้วเอาลงหรือหุบไม่ได้ เช่น ตาค้าง อ้าปากค้าง ขากรรไตร ค้าง; แรมคืน, ค้างคืน ก็ว่า. น. ไม้หลักสําหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น ค้างพลู ค้างถั่ว.
คาราคาก่า, คาราคาซัง : ว. ยังไม่เสร็จ, ยังไม่แล้ว, ค้างอยู่, ติดอยู่.
จุลกฐิน : น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทํา อย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
จูงนางลีลา : น. ชื่อท่ารําชนิดหนึ่งที่ควาญช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
แจงรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมา เรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทาง ทิศตะวันออก, แปรรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า.
ใจร้อน : ว. มีใจไม่หนักแน่น ฉุนเฉียวง่าย; มีใจรีบร้อนอยากจะให้เสร็จเร็ว ๆ.
ชมพูพาดบ่า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
ชะลาน : น. ชื่อหนึ่งของฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน เพราะมักตกในระยะเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
ตกข้าว : น. วิธีการที่นายทุนให้เงินชาวนากู้ก่อนที่จะลงมือ ทำนา โดยตกลงกันว่าชาวนาจะให้ข้าวเปลือกแก่นายทุน แทนเงิน หลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว.
ต้นขั้ว : น. ส่วนต้นของใบเสร็จ เช็ค สลากกินแบ่ง เป็นต้น ที่ติดอยู่ใน เล่มเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน, หัวขั้ว ก็ว่า.
ถามค้าน : (กฎ) ก. การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซักถามพยาน เมื่อคู่ความ ฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว, ซักค้าน ก็ใช้.
ถามติง : (กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.
ไถกลบ : ก. ไถให้ดินปิดทับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปเมื่อไถแปรเสร็จ แล้ว (ใช้แก่การทํานาหว่าน).
นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
นางกราย : น. ท่ารําชนิดหนึ่งที่หมอช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จครั้งแรก แล้ว.
บสำคัญคู่จ่าย : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน; (กฎ) หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดง การจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ผู้รับที่ธนาคาร และรวมถึงใบนําส่งเงินต่อคลังด้วย.
บอกวัตร : (โบ) ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทําวัตร เย็นเสร็จแล้ว.
ปติยัต : ก. ตระเตรียม, ทําให้เสร็จ, ตกแต่ง. (ป. ปติยตฺต).
ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
ปลงศพ : ก. เผาผี, จัดการเผาหรือฝังศพให้เสร็จสิ้นไป.
ปัดเกล้า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ
ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
ปิดกล้อง : (ปาก) ก. เสร็จการถ่ายภาพยนตร์ครั้งสุดท้ายของแต่ละเรื่อง.