Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสาะ , then สา, เสา, เสาะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสาะ, 366 found, display 1-50
  1. กระเสาะกระแสะ : ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า.
  2. กำเสาะ : ก. กระเสาะ, เสาะ, เช่น เสือกซบสยบสกลลง กำเสาะโศกระด้าวดาล. (สุธน).
  3. ค้น : ก. พยายามหาให้พบโดยวิธีสืบ เสาะ แสวง เป็นต้น.
  4. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  5. กระแสะ : ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิว กระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.
  6. กำแสง : (โบ) ก. กันแสง เช่น กําแสงสมรมี กําเสาะจิตรจาบัลย์. (สูตรธนู).
  7. ขวนขวาย : [-ขฺวาย] ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า.
  8. ขวายขวน : [ขฺวายขฺวน] ก. เสาะหา, แสวงหา, ขวนขวาย ก็ว่า.
  9. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  10. ค้นคว้า : ก. หาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา, เสาะหาเอามา.
  11. ซอกแซก : ก. ดั้นด้นไปทุกซอกทุกมุมทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะไป เช่น ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามแม้ในเรื่องที่ไม่น่าถาม เช่น ซอกแซกถาม. ว. ทุกแง่ทุกมุม เช่น ถามซอกแซก, เสาะหาสรรหา มากิน เช่น กินซอกแซก, เป็นซอกเป็นตรอกมาก เช่น ทางซอกแซก.
  12. เดินตลาด : ก. วิ่งเต้นจําหน่ายสินค้า, เที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งจําหน่ายสินค้า.
  13. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  14. วิจิน : ก. เที่ยวหา, สืบเสาะ, ตรวจ; เก็บ, คัดเลือก. (ป.).
  15. สา ๒ : (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกระสา. (ดู กระสา๓), ชื่อกระดาษที่ทำจากเปลือก ต้นกระสา ใช้ทำร่มเป็นต้น เรียกว่า กระดาษสา.
  16. สา ๓ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่องูหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สาเหลือง หมายถึง งูลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) สาขาว หมายถึง งูทับสมิงคลา (Bungarus candidus) สาคอแดง หมายถึง งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus).
  17. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  18. เห็จ : (กลอน) ก. เหาะ, ไปในอากาศ, เช่น รณบุตรเห็จเข้าโจมฟัน รณาภิมุขผัน หฤทัยเสาะสุดแรง. (สมุทรโฆษ). ว. เร็ว, เลือนมาจาก ระเห็จ.
  19. สา ๑ : น. หมา. (ป.; ส. ศฺวนฺ).
  20. สา ๔ : สัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
  21. สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
  22. สาชล : (กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวัง สวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
  23. สากะ : น. ผัก. (ป.; ส. ศาก).
  24. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  25. ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
  26. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  27. กระดาษสา : น. กระดาษที่ทําจากเปลือกต้นสา ใช้ทําร่มเป็นต้น.
  28. เดียงสา : ว. รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็ก ยังไม่รู้เดียงสา.
  29. ถัมภ์ : (แบบ) น. หลัก, เสา; ความดื้อ, ความกระด้าง. (ป.).
  30. ประสาธน์ : [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).
  31. แปหัวเสา : น. แปซึ่งพาดบนหัวเสาประธาน มักมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
  32. ไม่เดียงสา : ว. ไม่รู้ประสา, ไม่รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ, เช่น เด็กยังไม่เดียงสา.
  33. ยวกสา : [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก.
  34. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  35. อนัญสาธารณ์ : [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อน?ฺ?สาธารณ).
  36. อัสสานิก, อัสสานีก, อัสสานึก : น. อัศวานึก, กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า. (ป. อสฺสานีก; ส. อศฺวานีก).
  37. ชิสา, ชีสา : สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  38. ญาติสืบสาโลหิต : (กฎ) น. ญาติที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด.
  39. ถัณฑิลสายี : ว. นอนเหนือแผ่นดิน. (ป.).
  40. ทวัตดึงสาการ : (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
  41. พิลังกาสา : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae ผลกลม เล็ก ๆ ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด A. colorata Roxb., A. pendulifera Pit., A. polycephala Wall. ex A. DC..
  42. มัญชุสา, มัญชูสา : น. ลุ้ง, หีบ. (ป.).
  43. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา : (สํา) ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก.
  44. ส่า : น. สิ่งที่เป็นเชื้อทําให้ปรากฏเป็นฟอง รา หรือเม็ดผื่นเป็นต้นแก่สิ่งอื่น บางลักษณะ.
  45. อหิงสา, อหึงสา : [อะ] น. ความไม่เบียดเบียน, การเว้นจากการทําร้าย. (ป., ส.).
  46. อัสสานิก, อัสสานีก, อัสสานึก : ดู อัส, อัสสะ.
  47. อุสส่าห์, อุสสาหะ : [อุด] น. อุตสาหะ. ก. อุตส่าห์. (ป.; ส. อุตฺสาห).
  48. กระสา ๓ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
  49. กำปั่น ๑ : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไป สําหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กําปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกําลัง เครื่องจักรไอน้า เรียกว่า กําปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).
  50. เทปูน : ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และปูนขาวผสมกับนํ้าแล้วเทให้ เป็นพื้น เสา เป็นต้น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-366

(0.0644 sec)