ถัมภ์ : (แบบ) น. หลัก, เสา; ความดื้อ, ความกระด้าง. (ป.).
แปหัวเสา : น. แปซึ่งพาดบนหัวเสาประธาน มักมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา : (สํา) ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก.
กำปั่น ๑ : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไป สําหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กําปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกําลัง เครื่องจักรไอน้า เรียกว่า กําปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).
เทปูน : ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และปูนขาวผสมกับนํ้าแล้วเทให้ เป็นพื้น เสา เป็นต้น.
ประตูฟุตบอล : น. ประตู ๒ เสา มีคานและมีตาข่ายรอรับลูกฟุตบอล ที่เตะผ่านเข้าไป.
ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
ย่อมุม : ก. ทําให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทาง ด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.
โยกเยก : ก. เคลื่อนไหวไปมา, โอนไปเอนมา, เช่น อย่านั่งโยกเยก เสา โยกเยกเพราะปักไม่แน่น.
ร้านม้า : น. ร้านไม้ยกพื้น มี ๖ เสา สําหรับวางหีบศพเพื่อจะเผา. (รูปภาพ ร้านม้า)
รื้อถอน : ก. รื้อและถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโยกย้ายไป เช่น รื้อถอนบ้าน เรือน; (กฎ) รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน ตง ออกไปให้หมด เช่น รื้อถอนบ้านเรือน.
เรือกำปั่น : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้าย เรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับ ผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดง ตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.
อ้อม : ก. โอบรอบ, ตีวงโค้ง, เช่น อ้อมวงเวียน, ล้อม, ห่อหุ้ม, ในคำว่า ผ้าอ้อม. ว. ตรงข้ามกับ ตรง เช่น ทางตรง-ทางอ้อม โดยตรง-โดยอ้อม, ตรงข้าม กับ ลัด เช่น ลัดเกร็ด-อ้อมเกร็ด. น. วงรอบ เช่น อ้อมแขน อ้อมกอด, โดยปริยายหมายถึงความคุ้มครองอุปการะ ในคำว่า อ้อมอก, ขนาดของของกลม เช่น เสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้แขนทั้ง ๒ ข้างอ้อม เช่น เสา ๒ อ้อม ต้นไม้ ๔ อ้อม.
เศาจ : [เสาจะ] น. ความสะอาด, ความบริสุทธิ์; การชําระล้าง; ความ ซื่อตรง. (ส. เศาจ, เศาจฺย; ป. โสเจยฺย).
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กก ๒ : น. โคน เช่น กกไม้, ต้น เช่น กกขา, ลําต้น เช่น กกเสา.
กงพัด ๒ : น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่ เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บน หมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
กรวม : [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวม ตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
กรวยเชิง : น. ลายที่ทําเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
กระโดง ๑ : น. ใบเรือ เช่น เสากระโดง คือ เสาใบเรือ; ส่วนที่อยู่บนหลังปลา บางชนิด เช่น ปลากัด ปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผ่นตั้งคล้ายใบเรือ. (ข. โกฺฎง ว่า ใบเรือ).
กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
กล่อม ๒ : [กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น น้ำหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
กะ ๔ : น. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือ เป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อน เรียกว่า กะห่วง.
กะดี่ : ก. ดีดหรืองัดของหนักขึ้น เช่น กะดี่ซุง กะดี่เสา.
กะทังหัน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Calophyllum thorelii Pierre ในวงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว ผลเล็ก รูปไข่ เนื้อไม้ใช้ทําพื้น ฝา เสาบ้าน และเสากระโดงเรือได้.
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
กาบพรหมศร : น. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่งที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร.
กิโยตีน : น. เครื่องมือประหารชีวิตแบบหนึ่ง ประกอบด้วยใบมีดขนาดใหญ่ ด้านคมมีลักษณะเฉียง เลื่อนลงมาตามร่องเสาให้ตัดคอนักโทษ. (ฝ. guillotine).
เกก : ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตําราช้างคําโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.
เกียด ๑ : น. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสําหรับผูกควายหรือ วัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.
แกงแนง : น. ไม้ค้ายันไขว้เป็นรูปกากบาทระหว่างเสา เพื่อป้องกันโครงสร้างมิให้เซหรือรวน.
ข้างกบ : น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่น กระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดานกรุกระหนาบ ข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่งต่าง ๆ, บานกบ ก็ว่า.
ขื่อ : น. ชื่อไม้เครื่องบนสําหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจํานักโทษ ทําด้วยไม้มีช่องสําหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อหลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
ขื่อหมู่ : น. ขื่อไม่น้อยกว่า ๒ ตัว เจาะฝังเข้าไปในเสาร่วมในซึ่งเป็นมุม แล้วทอดไปหาเสาหรือผนังของระเบียงคล้ายเต้าที่รับเชิงกลอน.
เข็ม ๑ : น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
โขลนทวาร : [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็น ประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบน ร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพ ที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).
คนโอบ : น. ขนาดของของกลมเช่นเสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้ แขนทั้ง ๒ ข้างโอบ เช่น เสาขนาด ๒ คนโอบ ต้นไม้ขนาด ๔ คนโอบ.
คร่าว : [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้ โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่จะยึด กับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตีได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
คอสอง ๒ : น. ส่วนของเรือนที่ต่อตั้งแต่หัวเสาสุดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งถึงจันทัน.
คันโดง : น. กระโดง, ใช้หมายถึง เสากระโดง เช่น กุมกรวรนุชพงาภาองค์ยุพา มาขึ้นคันโดงคอยดู. (สุธน).
คาน : น. เครื่องเรือนที่ยึดเสาและรองตง ทําด้วยไม้เป็นต้น, ไม้ทําอย่างรอด สําหรับรองรับของหนัก เช่น คานเรือ; ไม้สําหรับหาบหรือหามสิ่งของ ต่าง ๆ เรียกว่า ไม้คาน. ก. รองรับหรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองรับของหนัก ขึ้นไว้, ถ่วงนํ้าหนักกัน เช่น อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจของฝ่าย บริหารคานกัน, โดยปริยายหมายความว่า ค้านกัน ยังตกลงกันไม่ได้.
คานคอดิน : น. คานที่วางบนเสาตอม่อ มักจะอยู่เสมอระดับดิน.
ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
โคน ๑ : น. ส่วนข้างต้นของสิ่งที่ยาวกลม เช่น โคนไม้ โคนเสา โคนขา.
งัว ๓ : น. ไม้รับกงพัดที่โคนเสา ๒ อันเพื่อกันไม่ให้เสาทรุดลงไปในหลุม.
งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.