บาดเสี้ยนบาดหนาม : น. แผลที่ถูกเสี้ยนหนามยอกแล้วกลายเป็นพิษ ทําให้มีอาการปวดผิดปรกติ.
ผักเสี้ยน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Cleome วงศ์ Capparidaceae เช่น ผักเสี้ยนป่า (C. chelidonii L.) ดอกสีม่วง, ผักเสี้ยนขาว หรือ ผัก ส้มเสี้ยน (C. gynandra L.) ดอกสีขาวยอดดองแล้วกินได้, และ ผักเสี้ยนผี (C. viscosa L.) ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
สยุ่น : [สะหฺยุ่น] น. เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง.
ศยนะ : [สะยะ] น. การนอน, การหลับ; ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. สยน).
กะล่อน ๑ : น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
แกว่งไกว : ก. แกว่งไปมา. แกว่งตีนหาเสี้ยน, แกว่งเท้าหาเสี้ยน (สํา) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อน.
จืด : ว. มีรสไม่เค็มไม่เปรี้ยวเป็นต้น เช่น นํ้าจืด ไข่จืด; ไม่เข้ม เช่น หน้าจืด, ไม่ฝาด เช่น หมากจืด, ไม่ฉุน เช่น ยาจืด; ไม่สนุก, ไม่ครึกครื้น, เช่น งานนี้จืด; หมด เช่น อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน. (ตะเลงพ่าย).
ถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน : (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ, ทําลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม.
ถอนรากถอนโคน : (สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้น เสี้ยนหนาม, ถอนต้นก่นราก ก็ว่า.
ราบคาบ : ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ; เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมือง สงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
ราบเป็นหน้ากลอง : (สํา) ว. ราบเรียบ, หมดเสี้ยนหนาม.
สงบราบคาบ : ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้าง กระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
สักขี ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Dalbergia candenatensis Prain ในวงศ์ Leguminosae แก่นแดง มีเสี้ยนดํา ใช้ทํายาได้, กรักขี หรือ ขรี ก็เรียก.