Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียขวัญ, เสีย, ขวัญ , then ขวัญ, สย, เสีย, เสียขวัญ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียขวัญ, 613 found, display 1-50
  1. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  2. ฝ่อ ๑ : ก. เหี่ยวยุบ, เหี่ยวแฟบ, เช่น หัวหอมฝ่อ หัวกระเทียมฝ่อ ไข่เหาฝ่อ, โดยปริยายหมายความว่า ตกใจ, ใจหาย, เสียขวัญ, เช่น ใจฝ่อ ดีฝ่อ.
  3. ข่มขวัญ : ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
  4. ขวัญเมือง ๑ : ดูใน ขวัญ.
  5. ขวัญอ่อน ๑ : ดูใน ขวัญ.
  6. ขู่ขวัญ : ก. ทําให้หวาดกลัว, ทําให้เสียขวัญ.
  7. ทำลายขวัญ : ก. ทําให้เสียขวัญ.
  8. ขวัญเกี่ยง : ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  9. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  10. ขวัญแขวน : ก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น เป็น อกสั่นขวัญแขวน.
  11. ขวัญบ่า : ก. ขวัญไหลไปจากตัว
  12. ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
  13. ขวัญบิน, ขวัญหนี, ขวัญหนีดีฝ่อ, ขวัญหาย : ก. ตกใจ, ใจหาย.
  14. ขวัญเมือง : ๑ น. ยอดกําลังใจของเมือง.
  15. ขวัญเมือง ๒ : undefined
  16. ขวัญอ่อน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  17. ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
  18. เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
  19. ไข่ขวัญ : น. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. (ดู ขวัญ)ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก.
  20. ทำขวัญ : ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
  21. ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
  22. ค่าเสียหาย : (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
  23. งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
  24. ได้เสีย : ก. ร่วมประเวณี; ได้เงินเสียเงิน, ได้ผล.
  25. ประดาเสีย : ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
  26. ปลอบขวัญ : ก. ปลอบโยนหรือบํารุงขวัญให้มีกําลังใจ.
  27. เป็นเสียเอง : ก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
  28. ผูกขวัญ : ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า ''ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.
  29. ผู้เสียหาย : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทํา ผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ตามที่ กฎหมายกําหนด.
  30. พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
  31. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  32. รับขวัญ : ก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.
  33. รากขวัญ : (ราชา) น. ไหปลาร้า เรียกว่า พระรากขวัญ.
  34. เรียกขวัญ : ก. เชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวโดยมีหมอขวัญทำพิธี.
  35. แรกนา, แรกนาขวัญ : น. ชื่อพิธีเริ่มไถนา, ถ้าทําเป็นทางราชการ เรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า พระราชพิธีแรกนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ.
  36. ลูกแก้วลูกขวัญ : น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
  37. ลูกขวัญ : น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกแก้วลูกขวัญ ก็เรียก.
  38. ว่าสาดเสียเทเสีย : (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย อย่างรุนแรง.
  39. ส่งเสีย : ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
  40. สยองขวัญ : ว. น่าหวาดกลัวจนขวัญหาย เช่น นวนิยายสยองขวัญ.
  41. ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
  42. สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
  43. สาดเสียเทเสีย : ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบ ทําให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
  44. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  45. หมอขวัญ : น. ผู้รู้พิธีทําขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์ และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.
  46. ไอเสีย : น. ไอที่เกิดจากการเผาไหม้ของนํ้ามันเครื่องยนต์ที่ขับถ่าย ออกทางท่อ, เรียกท่อที่ขับถ่ายไอเสียออกว่า ท่อไอเสีย.
  47. กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
  48. กล่าวขวัญ : ก. พูดถึง, พูดออกชื่อและการกระทําของคนอื่น.
  49. ข้าวขวัญ : น. ข้าวบายศรี.
  50. ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-613

(0.1589 sec)