บังวาย : ก. เสื่อมเสีย, เสียหาย, เช่น ทํากลบังวาย. (สามดวง), บังวายสวาท. (กฤษณา).
กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
คาว : น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว; เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
ชำรุด : ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบ สลายไป เช่น หนังสือชํารุด เกวียนชํารุด.
ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
โภคยทรัพย์ : [โพกคะยะ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อใช้ย่อม เสียภาวะเสื่อมสลายไปในทันใดเพราะการใช้นั้น หรือซึ่งใช้ไปในที่สุด ย่อมสิ้นเปลืองหมดไป.
มือตก : ว. เสื่อมความสามารถลง เช่น หมู่นี้เล่นบิลเลียดมือตกไป, เสื่อมความนิยม เช่น เขียนหนังสือมือตกไป, เสียมากกว่าได้ ในการเล่นการพนัน เช่น ตอนนี้เขาเล่นไพ่กำลังมือตก.
ระวัง : ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี, เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิด ภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
สด : ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยัง ไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
อปยศ, อัปยศ : [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
อภว : [อะภะวะ] น. ความไม่มี, ความเสื่อม, ความเสียหาย. (ป., ส.).
อัปยศ : [อับปะ] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอาย ขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
ค่าเสียหาย : (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
ได้เสีย : ก. ร่วมประเวณี; ได้เงินเสียเงิน, ได้ผล.
ประดาเสีย : ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
เป็นเสียเอง : ก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
ผู้เสียหาย : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทํา ผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ตามที่ กฎหมายกําหนด.
พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
ว่าสาดเสียเทเสีย : (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย อย่างรุนแรง.
ส่งเสีย : ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
สาดเสียเทเสีย : ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบ ทําให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
ไอเสีย : น. ไอที่เกิดจากการเผาไหม้ของนํ้ามันเครื่องยนต์ที่ขับถ่าย ออกทางท่อ, เรียกท่อที่ขับถ่ายไอเสียออกว่า ท่อไอเสีย.
กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
ชักใบให้เรือเสีย : (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนา หรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
ได้เสียกัน : ก. เป็นผัวเมียกันแล้ว.
ต้มจนสุก, ต้มเสียสุก : (ปาก) ก. ล่อลวงให้หลงได้สำเร็จ.
ท้องเสีย : ว. อาการที่เกิดจากเครื่องย่อยอาหารไม่ทําหน้าที่ตาม ปรกติทําให้ถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย.
ท่อไอเสีย : น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบาย แก๊สและช่วยลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้.
ทำเสียเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
พื้นเสีย : ก. โกรธ.
เมินเสียเถอะ, เมินเสียเถิด : (สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวัง อยู่เลย.
ไม่ได้ไม่เสีย : ว. เสมอตัว, เท่าทุน.
ไม่มีวันเสียละ : (ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้.
เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก, เลี้ยงไม่เสียหลาย : ก. เลี้ยงแล้วยังใช้ประโยชน์ ได้บ้าง.
เลี้ยงเสียข้าวสุก : ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร.
เลือดเสีย : น. เลือดระดูไม่ปรกติ มีสีแดงคล้ำ กลิ่นเหม็น.
หัวเสีย : ว. หงุดหงิด, มีอารมณ์โกรธค้างอยู่.
ทราม : [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบ เป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
กระเสียร : [-เสียน] ว. คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. (ป. กสิร).
เศียร : [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร;ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.