เหงาหงอย : ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, หงอยเหงา ก็ว่า.
หงอย : [หฺงอย] ว. ซึมเซา, ไม่ชุ่มชื่น, ไม่กระปรี้กระเปร่า, ไม่ร่าเริง.
หงอยเหงา : [หฺงอยเหฺงา] ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, เหงาหงอย ก็ว่า.
เซา : ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
เหงา ๑ : [เหฺงา] ว. เปลี่ยวใจ, เปล่าเปลี่ยว, ไม่คึกคัก.
เหงา ๒ : [เหฺงา] น. ชื่อลายกระหนกตัวแรก.
หงอยก๋อย : ว. ซบเซา, จับเจ่า, เซื่องซึม, ง่วงเหงา.
เหงาปั้นลม : น. ตัวไม้ชายปั้นลมที่หักกลับโค้งเข้ามาคล้ายลายกระหนก ตัวแรก.
ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
ซึมเซา : ว. มีลักษณะเหงาหงอยง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น วันนี้รู้สึกซึมเซาไม่อยากทำงานเลย.
เงื่องหงอย : ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา.
หง่อย : ว. เชื่องช้า, ไม่ฉับไว, เงื่อง.
เหง : [เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ข่ม เป็น ข่มเหง.
ห : พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
กระงกกระงัน : (โบ) ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อย พี่ก็ไม่คิด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระฉับกระเฉง : ว. คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่าเหมาะแก่การ, ตรงข้ามกับ เงื่องหงอย, เฉื่อยชา.
คลิ้งโคลง :
[คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง๑).
จับเจ่า : ว. หงอยเหงา, หงอยก๋อย.
จุกเจ่า : ว. เซา, นั่งเหงา, นั่งคุดคู้อยู่, เจ่าจุก ก็ว่า.
เจ่าจุก : ว. เซา, นั่งเหงา, นั่งคุดคู้อยู่, จุกเจ่า ก็ว่า.
เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
เชื่อม ๓ : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
ซบเซา : ว. หงอยก๋อย, เงียบเหงา, ไม่เบิกบาน; ไม่คึกคักเช่นเดิม เช่น ตลาดการค้าเดี๋ยวนี้ซบเซาไป.
เซื่อง : ว. เงื่องหงอย, ซึม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ซึม เป็น ซึมเซื่อง หรือ เซื่องซึม.
หง่าว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
ข่มเหงคะเนงร้าย : ก. รังแกเบียดเบียน.
คุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, กุมเหง ก็ว่า.
ข่มเหง : [-เหง] ก. ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
กุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กําลังหรืออํานาจทําให้เดือดร้อน, คุมเหง ก็ว่า.
คะเนงร้าย : ใช้เข้าคู่กับคํา ข่มเหง เป็น ข่มเหงคะเนงร้าย.
หงำ : [หฺงํา] ว. มากจนเลอะเทอะ เช่น เมาหงํา แก่หงํา.
เหง้า : [เหฺง้า] น. ลําต้นที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เช่น ขิง กระวาน ที่จมอยู่ใต้ดิน; ต้นเดิม, ต้นวงศ์.