Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหงื่อ , then หงอ, เหงื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหงื่อ, 34 found, display 1-34
  1. เหงื่อ : [เหฺงื่อ] น. ของเหลวที่ร่างกายขับออกทางผิวหนัง; หยดนํ้าที่กลั่นตัวจาก ไอนํ้าจับอยู่ที่ฝาภาชนะซึ่งปิดหรือที่ผิววัสดุซึ่งคลุมอยู่เป็นต้น, (ปาก) เหื่อ.
  2. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  3. เหงื่อตกกีบ : (สำ) ก. เหนื่อยมาก.
  4. หงอ : ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.
  5. อาบเหงื่อต่างน้ำ : ก. ตรากตรําทํางานด้วยความเหนื่อยยาก.
  6. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  7. เหื่อ : (ปาก) น. เหงื่อ.
  8. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  9. กระทิง ๑ : น. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็น น้ำมันที่ขับออกมา.
  10. กานต์ : (แบบ) ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึก ที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของ พระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. (ส.).
  11. ขี้เกลือ : น. คราบเหงื่อที่แห้งกรังจนขึ้นขาว.
  12. ขี้ไคล : (ปาก) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, ไคล ก็ว่า.
  13. ขี้เต่า : น. เมือกเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามรักแร้ มีกลิ่นเหม็น.
  14. เข้ากระโจม : ก. เข้าไปอยู่ในผ้าที่ทําเป็นกระโจมเพื่ออบให้เหงื่อออก, เข้าไปอบควันยาในกระโจม.
  15. ไค : (โบ) น. เหงื่อไคล.
  16. ไคล ๑ : [ไคฺล] น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกําพร้า, (ปาก) ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท; ตะไคร่น้ำ เช่น ปูกินไคล.
  17. ชันตาฆระ : [ชันตาคะระ] (แบบ) น. เรือนไฟ, ห้องสําหรับรมไฟ เพื่อให้เหงื่อออก. (ป.).
  18. โชก, โชก ๆ : ว. มากจนไหลอาบไปทั่ว เช่น เสื้อเปียกโชก เหงื่อโชก ราดนํ้าแกงโชก ๆ.
  19. ซก, ซ่ก : ก. เปียกชุ่มจนถึงหยด เช่น เหงื่อซก.
  20. ซิก ๑, ซิก ๆ : ว. เรียกอาการที่เหงื่อไหลซึมออกมาตามตัวว่า เหงื่อไหลซิก; เรียกอาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ ว่า ร้องไห้ซิก ๆ, กระซิก ๆ ก็ว่า.
  21. ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
  22. โซก : ก. เปียกมากจนไหลอาบไปทั่ว เช่น เหงื่อโซก.
  23. โซม : ก. เปียกทั่ว เช่น เหงื่อโซมตัว; คําบอกให้ช้างย่อตัว.
  24. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  25. ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
  26. เปียก ๑ : ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. ว. ที่ชุ่มน้ำ เช่น ผมเปียก ผ้าเปียก เหงื่อเปียก, อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก.
  27. เปียกโชก : ก. เปียกชุ่มทั่วตัว เช่น น้ำเปียกโชก เหงื่อเปียกโชก.
  28. ผ้าเช็ดหน้า : น. ผ้าผืนเล็กรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สําหรับเช็ดหน้า ซับเหงื่อเป็นต้น.
  29. มล, มล- : [มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง, สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
  30. มัน ๕ : ว. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว; เป็นเงา, ขึ้นเงา, เช่น เหงื่อออกหน้าเป็นมัน. มันแปลบ ว. มันเป็นเงาวับ, มันปลาบ หรือ มันแผล็บ ก็ว่า.
  31. โรคประสาท : น. โรคทางจิตใจที่มีความกังวลเป็นอาการสําคัญ คนไข้อาจมีอาการแสดงออกเป็นความกังวล เช่น กลุ้มใจ เป็นอาการหงุดหงิด หรืออาจแสดงออกทางกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก เป็นลม กลัวที่สูง. (อ. neurosis).
  32. หยาด : ก. หยดลง. น. เม็ดฝนหรือนํ้าค้างเป็นต้นที่ไหลยืดหยดลง เช่น หยาดฝน หยาดน้ำค้าง หยาดเหงื่อ.
  33. เหนอะ, เหนอะหนะ : [เหฺนอะ-] ว. มีลักษณะเหนียวติดมือ เช่น ข้าวติดมือเหนียวเหนอะหนะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เหงื่อไหล จนรู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะไปหมด.
  34. อาบ : ก. เอานํ้ารดตัวหรือลงในนํ้าทั้งตัว เพื่อแก้ร้อนหรือชําระล้างเ หงื่อไคลเป็นต้น เรียกว่า อาบนํ้า; ชโลม, ทา, ทําให้ซึมซาบ, เช่น อาบนํ้ารัก ลูกศรอาบยาพิษ; ไหลโซม เช่น เหงื่ออาบหน้า.
  35. [1-34]

(0.0782 sec)