เหง : [เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ข่ม เป็น ข่มเหง.
หง : ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสม สีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
ข่มเหงคะเนงร้าย : ก. รังแกเบียดเบียน.
คุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, กุมเหง ก็ว่า.
ข่มเหง : [-เหง] ก. ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
กุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กําลังหรืออํานาจทําให้เดือดร้อน, คุมเหง ก็ว่า.
คะเนงร้าย : ใช้เข้าคู่กับคํา ข่มเหง เป็น ข่มเหงคะเนงร้าย.
เหงา ๑ : [เหฺงา] ว. เปลี่ยวใจ, เปล่าเปลี่ยว, ไม่คึกคัก.
เหงา ๒ : [เหฺงา] น. ชื่อลายกระหนกตัวแรก.
หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
เหงาปั้นลม : น. ตัวไม้ชายปั้นลมที่หักกลับโค้งเข้ามาคล้ายลายกระหนก ตัวแรก.
เหงาหงอย : ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, หงอยเหงา ก็ว่า.
แหง่ : [แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
หึ่ง ๑ : ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่ง มาแต่ไกล.
หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียง ฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.
แห่ง : น. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.
หงส์ ๒ : [หง] น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดํา (C. atratus).
หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
หงสคติ : [หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อย และเป็นสง่า.
หงสบาท : [หงสะบาด] ว. มีสีคล้ายเท้าหงส์ คือ สีแดงปนเหลือง, สีแดงเรื่อ หรือ สีแสด ก็ว่า. (ป.).
หงสโปดก : [หงสะโปดก] (วรรณ) น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มี เช่น ดุจหงษโปฎกกระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย. (ม. คำหลวง มัทรี).
หงสรถ : [หงสะรด] น. พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม.
หงสราช : [หงสะราด] น. พญาหงส์.
หงส์ลีลา ๒ : [หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).
หงสลีลา, หงส์ลีลา ๑ : [หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.
กระงกกระงัน : (โบ) ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อย พี่ก็ไม่คิด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ของ : น. สิ่งต่าง ๆ. บ. แห่ง (ใช้สําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ครอบครอง).
คลิ้งโคลง :
[คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง๑).
คอคอด : น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่ กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.
โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
จิตรลดาวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
จุกเจ่า : ว. เซา, นั่งเหงา, นั่งคุดคู้อยู่, เจ่าจุก ก็ว่า.
เจ่าจุก : ว. เซา, นั่งเหงา, นั่งคุดคู้อยู่, จุกเจ่า ก็ว่า.
เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
ฉทานศาลา : [ฉ้อทานนะสาลา] น. ศาลาเป็นที่ทําทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า ศาลาฉทาน.
ฉพีสติม- : [ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่ง เดือนสุริยคติ). (ป.).
เชื่อม ๓ : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
ซึมเซา : ว. มีลักษณะเหงาหงอยง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น วันนี้รู้สึกซึมเซาไม่อยากทำงานเลย.
เซา : ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
ณ ๒ : [นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคําบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้ นําหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.
นวลหง : [นวนละหง] ว. มีสีเนื้อนวลงาม.
นันทวัน : [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
ใน : บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
มิสกวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน); ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
สังปะติแหงะ, สังปะลิเหงะ : [แหฺงะ, เหฺงะ] น. ฤษี. (ช.).
สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.