Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหมาะ , then หมา, เหมา, เหมาะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหมาะ, 268 found, display 1-50
  1. เหมาะ : ว. ดี เช่น ได้โอกาสเหมาะ, พอดี เช่น กำลังเหมาะ, สมควร เช่น โอกาสนี้ ไม่เหมาะจะเข้าพบผู้ใหญ่, คู่ควร เช่น ๒ คนนี้เหมาะกัน.
  2. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  3. เหมาะเจาะ : ว. พอดี, พอดิบพอดี.
  4. เหมาะมือ : ว. พอดีมือ, กระชับมือ.
  5. เหมาะเหม็ง : (ปาก) ว. พอดิบพอดี.
  6. กำลังเหมาะ : ว. พอเหมาะ.
  7. คำนวร : [-นวน] (แบบ) ว. ควร, ถูกต้อง, เหมาะ, พอดี ๆ, ชอบ, เช่น คิดคิ้วคํานวรนวย คือธนูอันก่งยง. (สมุทรโฆษ).
  8. ทักข์ ๑ : ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. (ป.).
  9. ทักษ- : [-สะ-] (แบบ) ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. (ส.).
  10. พอ : ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  11. พอเหมาะ : ก. เหมาะเจาะ เช่น เขามาพอเหมาะกับเวลา รองเท้านี้ ใส่ได้พอเหมาะ, พอเหมาะพอเจาะ ก็ว่า.
  12. ภัพ : ว. ดี, งาม, เหมาะ, ควร. (ป. ภพฺพ; ส. ภวฺย, ภาวฺย).
  13. ภาพย์ : (แบบ) ว. ภัพ, ดี, งาม, เหมาะ, ควร. (ส. ภวฺย).
  14. มั่นเหมาะ : ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน.
  15. อนุรูป : ว. สมควร, เหมาะ, พอเพียง; เป็นไปตาม. (ป., ส.).
  16. เป็นมั่นเป็นเหมาะ : ว. มั่นคง, แข็งขัน, หนักแน่น.
  17. ชอบ : ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิง ว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบ ที่จะทําได้.
  18. ควร : [ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคําช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทํา ควรกิน.
  19. จารุ : (แบบ) น. ทองคํา. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).
  20. พอใจ : ก. สมใจ, ชอบใจ. ว. เหมาะ.
  21. โยคยะ : [โยกคะยะ] ว. สมควร, เหมาะ. (ส. โยคฺย).
  22. เหมา ๑ : [เหฺมา] ก. คิดเป็นจํานวนรวม เช่น รับเหมา เหมาผลไม้ทั้งเข่ง; หาความ เช่น อย่าเหมาว่าฉันผิดคนเดียว.
  23. เล่นกับหมา หมาเลียปาก : (สำ) ก. ลดตัวลงไปหรือวางตัวไม่เหมาะสม จึงถูกลามปาม, มักใช้เข้าคู่กับ เล่นกับสาก สากต่อยหัว.
  24. กระฉับกระเฉง : ว. คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่าเหมาะแก่การ, ตรงข้ามกับ เงื่องหงอย, เฉื่อยชา.
  25. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  26. กล่อม ๒ : [กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น น้ำหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
  27. กะทัดรัด : ว. สมทรง, สมส่วน, เหมาะเจาะ.
  28. กัปปิยโวหาร : น. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคําสํานวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
  29. กำลังกิน : ว. เหมาะที่จะกิน.
  30. กิ่งทองใบหยก : (สํา) ว. เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิงกับชาย ที่จะแต่งงานกัน).
  31. ขยับขยาย : [-ขะหฺยาย] ก. แก้ไขให้คลายความลําบากหรือความ คับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์.
  32. ขัดตา : ก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือ ขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.
  33. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  34. เข้าเค้า : ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับ เรื่องราวหรือเหตุผล.
  35. เข้าแง่ : ก. ถูกที่เหมาะ, ถูกที่สําคัญ.
  36. เข้าเจ้าเข้านาย : ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลัก ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม.
  37. เข้าเดือย : ก. นําไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทําให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี.
  38. เข้าท่า : ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม.
  39. เข้ารูป : ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป.
  40. ค้นหูก : ก. จัดเส้นไหมหรือด้ายสําหรับทอผ้าให้มีจํานวนเหมาะกัน กับช่องฟันฟืม.
  41. คล่องมือ : ว. ถนัดมือ, เหมาะกับมือ, เช่น มีดเล่มนี้ใช้คล่องมือ; สะดวก, ไม่ขาดแคลน, เช่น เขามีเงินใช้คล่องมืออยู่เสมอ.
  42. คุณวุฒิ : [คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
  43. คู่ควร : ว. เหมาะกัน, สมกัน, เสมอกัน, มีค่าเท่ากัน.
  44. คู่มือ : ว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สําหรับประจําตัว, เช่น อาวุธคู่มือ. น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้ เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือ การปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  45. จับตา ๑ : ว. ถูกตา, เหมาะตา, เป็นที่พอตา.
  46. ชัยภูมิ : [ไชยะพูม] น. ทําเลที่เหมาะ. (ป., ส.).
  47. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว : (สํา) ก. ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะ กับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  48. เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
  49. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  50. ได้ที่ : ก. ถึงที่เหมาะ, ถึงที่กะไว้, พอดี.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-268

(0.0560 sec)