เหยื่อ : [เหฺยื่อ] น. อาหารที่ใช้ล่อสัตว์; เครื่องล่อ; ตัวรับเคราะห์ เช่น เหยื่อกระสุน.
ภักขะ : น. เหยื่อ, อาหาร. (ป. ภกฺข; ส. ภกฺษ).
ภักษ, ภักษ์ : [พักสะ, พัก] น. เหยื่อ, อาหาร. ก. กิน. (ส. ภกฺษ; ป. ภกฺข).
ภักษา : น. เหยื่อ, อาหาร. (ส. ภกฺษ; ป. ภตฺต).
ภักษาหาร : น. เหยื่อ, อาหาร, อาหารที่กินประจํา, เช่น เนื้อเป็นภักษาหาร ของเสือ หญ้าเป็นภักษาหารของวัว.
กรงเล็บ : น. กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง.
กระจู้ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, เรียกว่า อีจู้ หรือ จู้ ก็มี.
เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
เกี่ยวเบ็ด : ก. เอาเบ็ดไปเกี่ยวเหยื่อ, เอาเหยื่อมาเกี่ยวเบ็ด.
จู้ ๒ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ อีจู้ ก็มี.
ฉวยฉาบ : (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ).
ตก :
ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
ตะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้างสำหรับผูกเหยื่อลอยน้ำไว้; เครื่องล่อใจ; สะกาง ก็เรียก.
นกเขา ๑ : น. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลําพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).
นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
เบ็ด : น. เครื่องมือสําหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสําหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง.
ป่อง ๑ : น. ชื่อแมงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Scorpionida หัวติด กับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้อง เป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อ กันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา ๔ คู่ ด้านหน้ามีส่วนของปากขยายใหญ่โตกว่าขา ลักษณะเหมือน ก้ามปูใช้สําหรับจับเหยื่อ.
ปากห่าง : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans ในวงศ์ Ciconiidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่ จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
มุบ : ก. ยุบลง. ว. อาการที่ยอบตัวลงโดยเร็ว เช่น มุบหัวลง, อาการที่ของด้านใด ด้านหนึ่งจมลงจากระดับเดิม เช่น พอปลากินเบ็ด ทุ่นเบ็ดก็มุบลง แพด้าน หนึ่งมุบลง, อาการที่คว้าสิ่งของโดยเร็ว เช่น พอของตกก็เอามือคว้ามุบ, อาการที่สัตว์งับสิ่งของโดยเร็ว เช่น ปลาฮุบเหยื่อมุบ พอโยนขนมให้หมา ก็เอาปากรับมุบ.
ล่อ ๒ : ก. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนํา เช่น เอาน้ำตาลล่อมด เอาเหยื่อ ล่อปลา; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย.
ลิงลม : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang ในวงศ์ Lorisidae หางสั้นมาก นิ้วชี้ของขาหน้าเล็กมากดูคล้ายติ่ง นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บ ยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง ตาโต ขนนุ่มมีลายสีนํ้าตาล ออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินผลไม้ แมลง และสัตว์เล็ก ๆ, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
วางเบ็ด, วางเบ็ดราว : ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลง ในแม่น้ำลำคลอง.
สะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก.
หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ : ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของ เป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.
หมาร่า : น. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.
หมุบ, หมุบ ๆ : [หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบ ปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.
อ่อย ๑ : ก. โปรยเหยื่อล่อปลา, มักใช้ว่า อ่อยเหยื่อ; ให้สิ่งของหรือเงินทอง คราวละเล็กละน้อยเป็นเหยื่อล่อ.
อีจู้ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อ คอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ จู้ ก็เรียก.
ย้ำเหยอ : [เหฺยอ] ว. เลอะเทอะ, หลงลืม.