Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหลว , then หลว, เหลว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหลว, 61 found, display 1-50
  1. เหลว : [เหฺลว] ว. เป็นนํ้า, ไม่แข็ง; ไม่ได้เรื่อง.
  2. เหลวไหล : ว. ไม่เป็นสาระ เช่น พูดแต่เรื่องเหลวไหล, เลอะเทอะ เช่น เป็นคนเหลวไหล, เชื่อถือไม่ได้ เช่น พูดจาเหลวไหล.
  3. คว้าน้ำเหลว : (สํา) ก. ไม่ได้ผลตามต้องการ.
  4. ท่าดีทีเหลว : (สํา) ว. มีท่าทางดี แต่ทําอะไรไม่ได้เรื่อง.
  5. แหลกเหลว : ว. ป่นปี้, ไม่มีชิ้นดี, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
  6. ปอดแปด : ว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคํา เหลว เป็น เหลวปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.
  7. กระเพื่อม : ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม.
  8. กลอกแกลก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เหลวไหล, ไม่แน่นอน.
  9. ขนุน ๑ : [ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือ สีจําปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวง สีจําปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจําปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
  10. ข่าวยกเมฆ : น. ข่าวที่ไม่มีมูล, ข่าวเหลวไหล.
  11. คว้าง : [คฺว้าง] ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เช่น ลอยคว้าง หมุนคว้าง; ลักษณะที่ละลายเหลวอย่างนํ้า เช่น ทองละลายคว้างอยู่ในเบ้า.
  12. โคมลอย : น. ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไป ในอากาศ. (ปาก) ว. ไม่มีมูล, เหลวไหล, เช่น ข่าวโคมลอย.
  13. โคลน : [โคฺลน] น. ดินเหลว.
  14. จรวด ๒ : [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดย ใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิด ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
  15. จำปาดะ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้; เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจําปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจําปาดะ. (ดู ขนุน๑).
  16. ซอส : น. เครื่องปรุงรส มีลักษณะเหลวหรือค่อนข้างข้น ใช้จิ้มหรือ ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น. (อ. sauce).
  17. ซึมเศร้า : ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
  18. ดื่ม : ก. กินของเหลวเช่นนํ้า. ดื่มด่ำ ว. ซาบซึ้ง.
  19. โดยสิ้นเชิง, อย่างสิ้นเชิง : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น เขาพ้นข้อหาโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.
  20. ต้ม ๑ : ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย undefined ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
  21. ตรีทุรวสา : น. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.
  22. ทลาย : [ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทําให้พัง เช่น กําแพงทลาย ทลายกําแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.
  23. ท้องเดิน : ว. อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากบ่อย ๆ.
  24. ที ๒ : น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  25. น่วม : ว. อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว เช่น บีบเสียจนน่วม.
  26. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  27. เนย : น. ไขมันหรือนํ้ามันที่ทําจากนํ้านมสัตว์มีทั้งเหลวและแข็ง.
  28. ประมัตตะ : ว. เลินเล่อ, มัวเมา, ประมาท, มักง่าย, เหลวไหล, เพิกเฉย, ทอดทิ้ง. (ส. ปฺรมตฺต; ป. ปมตฺต).
  29. ปาเต๊ะ ๒ : น. ชื่อผ้าโสร่งชนิดหนึ่ง ใช้เคลือบด้วยขี้ผึ้งเหลวบางตอน ที่ไม่ต้องการให้มีสีสันหรือลวดลาย. (ม. batik).
  30. เปะ : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะ ที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอา ลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.
  31. ผู้หลักผู้ใหญ่ : น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยัง ทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิด และความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  32. เผละผละ : ว. อ้วนจนเนื้อเหลวไม่มีรูปมีทรง เช่น อ้วนเผละผละ.
  33. ฝนตกขี้หมูไหล : (สํา) ก. พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน ว่า ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน.
  34. พกลม : ว. มีแต่ลม คือ เหลวไหล, พูดจาไม่จริง, ใช้เข้าคู่กับคําโกหก เป็น โกหกพกลม.
  35. พิธีแตก : (ปาก) ว. เสียเรื่อง, ล้มเหลว.
  36. เพ้อเจ้อ : ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ.
  37. เฟะ : ว. เละ, เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเป็นร่าง, เช่น เน่าเฟะ.
  38. มลโค : [มอละโค] (ปาก) น. อุจจาระพอเหลว ๆ คล้ายมูลโค.
  39. มัสดุ, มัสตุ : [มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).
  40. มูลโค : น. อุจจาระเหลว แต่ไม่เหลวถึงเป็นนํ้า, มักพูดว่า มลโค.
  41. ย่ำเทือก : ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก.
  42. ระยำตำบอน : (ปาก) ว. เลวทราม, ชั่วช้า, เหลวไหล.
  43. ลงท้าย : ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้าย ก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควร มิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  44. ละมุด : น. (๑) ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Manilkara วงศ์ Sapotaceae ผลสุก รสหวาน กินได้ คือ ละมุดฝรั่ง [M. zapota (L.) P. Royen] ผลสุกสี นํ้าตาล, ละมุดสีดา หรือ ละมุดไทย [M. kauki (L.) Dubard] ผลสุก สีแดงคลํ้า. (๒) เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว ว่า ขนุนละมุด. (ดู ขนุน๑).
  45. เลน : น. ดินเปียกเหลวจนปั้นไม่ได้ เช่น โกยเลนลอกท้องร่อง.
  46. เลอะเทอะ : ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหก เลอะเทอะ, เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยาย หมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมาพูดจา เลอะเทอะ, โบราณใช้ว่าเลอะเพอะ ก็มี.
  47. เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
  48. เละเทะ : ว. ไม่เป็นระเบียบ เช่น หัวหน้าไม่อยู่ งานการเละเทะ; มีความประพฤติเหลวไหลไม่มีความรับผิดชอบ เช่น คนกินเหล้า เมายาเป็นคนเละเทะ เชื่อถือไม่ได้, มีความประพฤติเป็นที่น่ารังเกียจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น ผู้หญิงคนนั้นทำตัวเละเทะ.
  49. โลละ : ว. โลเล, เหลวไหล, เหลาะแหละ, ไม่แน่นอน. (ป., ส.).
  50. วสา : น. มันเหลว; ไข, นํ้ามัน. (ป., ส.).
  51. [1-50] | 51-61

(0.0730 sec)