เหลียว : ก. ผินไปทางขวาหรือทางซ้ายอย่างเอี้ยวคอ.
เหลียวแล : ก. เอาใจใส่ดูแล เช่น พ่อแม่แก่แล้วต้องเหลียวแลท่านให้มาก เด็กคนนี้ไม่มีใครเหลียวแลเลย.
เหลียวหลัง : น. เรียกสร้อยที่มีลักษณะบิดเป็นเกลียวว่า สร้อยเหลียวหลัง. ก. เหลียวดูด้วยความสนใจหรือด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นต้น.
แลเหลียว : ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มี ใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.
ขวับ ๒ : [ขฺวับ] ว. เร็ว, ทันที, เช่น เหลียวขวับ.
จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
ชะแง้ : ก. เหลียวแลดู, เฝ้าคอยดู.
ทะเลิ่กทะลั่ก : ว. อาการที่ทำหน้าตาตื่น เหลียวหน้าเหลียวหลัง เช่น เขาวิ่ง หน้าตาทะเลิ่กทะลั่กเข้ามา.
นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
แน่บ : ว. อาการที่วิ่งอย่างรวดเร็วไม่เหลียวหลัง เช่น โกยแน่บ.
ผกผงก : ก. ผงกหัวขึ้นเหลียวดู.
ลอกแลก : ว. แสดงอาการหลุกหลิกเป็นต้น เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ตลอดเวลา ถือกันว่าเป็นกิริยาไม่สุภาพหรือบางทีก็ส่อพิรุธด้วย.
ละเมิน : ก. ละด้วยการไม่เหลียวแล.
แล ๑ : ก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดู เพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.
หมากลางถนน : น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบ เทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.
อินัง, อินังขังขอบ : ก. เอาใจใส่, เอาใจช่วย, ดูแล, เหลียวแล, นําพา, (มักใช้ในความ ปฏิเสธ) เช่น ไม่อินัง ไม่อินังขังขอบ หมายความว่า ไม่เอาใจใส่.
โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).