เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
เหลือบ ๒ : [เหฺลือบ] ก. ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า ชำเลือง เช่น เหลือบตา เหลือบแล เหลือบดู เหลือบเห็น.
ฑังส : [ดังสะ] (แบบ) น. เหลือบ. (ป. ฑํส).
ระมา : น. เหลือบ. (ช.).
กระเลียด : [-เหฺลียด] (กลอน) แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและ กระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. (สรรพสิทธิ์).
กระวายกระวน : ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวน ด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
ค่อม ๑ : ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. ค่อม ๒ น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
ช้อนหอย ๒ : น. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นกินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาว หรือ กุลาขาว (Threskiornis melanocephalus) ช้อนหอยดํา หรือ กุลาดํา (Pseudibis davisoni) ช้อนหอยใหญ่ หรือ กุลาใหญ่ (P. gigantea) และ ช้อนหอยดำเหลือบ(Plegadis falcinellus), กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก.
ชาปีไหน : น. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลําตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็น ได้ชัด ขี้อายมักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะ ทางภาคใต้ของประเทศไทยเช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
พญาลอ : น. ชื่อนกชนิด Lophura diardi ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพก สีแดงสด ขนหางยาวสีดําเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดํา นกชนิดนี้ถือเป็นแบบฉบับของนกไก่ฟ้าในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
วาม ๑, วาม ๆ : ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงามว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
อู : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่กว่าไก่แจ้ หงอนเล็ก ตัวผู้มีหลายสีแต่ สีขนไม่สดใสเหมือนไก่แจ้ ตัวเมียมีสีดําเหลือบเขียวเท่านั้น, เรียก ไก่อูชนิดที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.