Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหลือร้าย, เหลือ, ร้าย , then ราย, ร้าย, หลอ, เหลือ, เหลือร้าย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหลือร้าย, 636 found, display 1-50
  1. เหลือร้าย : ว. ร้ายมาก.
  2. ร้าย : ใส่ร้าย ป้ายร้าย ให้ร้าย.
  3. เหลือ : [เหฺลือ] ก. เกิน, เกินต้องการ, มาก, มากเกิน; ยังอยู่, ค้างอยู่, ยังไม่หมด.
  4. วายร้าย : ว. เหลือร้าย, ชั่วช้านัก.
  5. เหลือทน : ว. สุดที่จะทนได้, ยิ่งนัก, เช่น ขี้เกียจเหลือทน ร้ายเหลือทน.
  6. เหลือแสน : ว. มากยิ่ง เช่น ร้ายเหลือแสน, มั่งมีเหลือแสน.
  7. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  8. ร้ายแรง : ว. รุนแรง เช่น น้ำท่วมทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรง, ร้ายมาก เช่น ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง.
  9. เหลือกำลัง, เหลือสติกำลัง : ว. พ้นความสามารถ เช่น เหลือกำลังลาก, เต็มที เช่น ซนเหลือกำลัง.
  10. เหลือเข็ญ : ว. ลําบากที่สุด เช่น ยากจนเหลือเข็ญ.
  11. เหลือใจ : ว. สุดกําลัง, มาก, เช่น ลําบากเหลือใจ.
  12. เหลือเดน, เหลือเดนเลือก : ว. ที่ไม่มีใครต้องการแล้ว, เหลือจากที่ใคร ๆ เลือกกันหมดแล้ว.
  13. เหลือเกิน : ว. ยิ่งนัก, เกินควร, เต็มที.
  14. เหลือขอ : ว. ดื้อมาก, เอาไว้ไม่อยู่.
  15. เหลือเชื่อ : ว. เกินจริง, ไม่น่าเชื่อ.
  16. เหลือใช้ : ว. ใช้ไม่หมด, เกินที่จะใช้.
  17. เหลือบ่ากว่าแรง : ว. เกินความสามารถที่จะทําได้, เกินกําลัง.
  18. เหลือมือ : ว. มากเกินที่จะทําได้หมด, มากเกินที่จะควบคุมดูแลได้ทั่วถึง.
  19. เหลือรับ : ว. มากเกินที่จะรับได้.
  20. เหลือล้น, เหลือหลาย, เหลือแหล่ : ว. มากมาย, มากเกินไป.
  21. เหลือวิสัย : ว. พ้นขอบเขตที่จะพึงทํา, พ้นความสามารถ.
  22. เหลืออด, เหลืออดเหลือทน : ว. สุดที่จะกลั้นได้, สุดที่จะอดทนได้, สุดที่จะ ระงับอารมณ์ได้.
  23. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  24. กำราก, กำหราก : น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กํารากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกําหรากเหลือลาม. (ตําราขี่ช้าง).
  25. ขาดเหลือ : ก. ไม่ครบตามที่ควรมี เช่น ถ้ามีสิ่งใดขาดเหลือ ก็ขอให้บอก.
  26. คงเหลือ : ว. ยังเหลือ.
  27. คะเนงร้าย : ใช้เข้าคู่กับคํา ข่มเหง เป็น ข่มเหงคะเนงร้าย.
  28. คุ้มดีคุ้มร้าย : ว. มีสติไม่ปรกติ, บางคราวดีบางคราวร้าย, ดีบ้างร้ายบ้าง.
  29. เคราะห์หามยามร้าย : น. เคราะห์ร้าย.
  30. ชั่ว ๒ : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  31. ซ้ำร้าย : ว. ร้ายขึ้นไปอีก.
  32. ดุ : ก. ว่ากล่าวหรือทักท้วงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจเพราะมีความผิดหรือ ไม่อยู่ในโอวาทเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า มีอันตรายมาก, มีคนเสีย ชีวิตมาก, เช่น นํ้าปีนี้ดุ ที่ตรงนี้ดุ. ว. มีลักษณะทําให้ดูน่ากลัวหรือน่า เกรงขาม เช่น หน้าดุ ตาดุ; ร้าย, ร้ายกาจ, เหี้ยมโหด, เช่น หมาดุ เสือดุ.
  33. ถ่มร้าย : น. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดี สําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ยักหล่ม เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  34. ประสงค์ร้าย : ก. มุ่งร้าย, หมายจะทําร้าย.
  35. ปากร้าย : ว. มักดุด่าว่าร้าย.
  36. พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  37. มิดีมิร้าย : ว. ชั่วร้าย, ไม่สมควร; อาการที่ล่วงเกินในเชิงชู้สาว.
  38. มุ่งร้ายหมายขวัญ : ก. คิดปองร้าย.
  39. ล้นเหลือ : ว. มากมายเหลือเฟือ เช่น มีอาหารกินล้นเหลือ.
  40. หลงเหลือ : ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมี เศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.
  41. โหด ๒ : ว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวด มาก เช่น ครูคนนี้โหด.
  42. ให้ร้าย, ให้ร้ายป้ายสี : ก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย, ป้ายสี ใส่ร้าย หรือ ใส่ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  43. ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
  44. ข่มเหงคะเนงร้าย : ก. รังแกเบียดเบียน.
  45. ข้าวเหลือเกลืออิ่ม : (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
  46. เข้าร้าย : (โบ) ก. ตกอยู่ในฐานะไม่ดี.
  47. ชะดีชะร้าย : (ปาก) ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, โดยปรกติ มักใช้ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะ เกิดขึ้นตามที่คาดไว้.
  48. ดูร้าย : น. ตาร้าย. (ดู ตาร้าย ที่ ตา๒).
  49. ต้นร้ายปลายดี : (สํา) น. ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสํานึก ตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง.
  50. เนื้อร้าย : น. สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น หมี เสือ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-636

(0.1680 sec)