เหล็ก : น. ธาตุลําดับที่ ๒๖ สัญลักษณ์ Fe เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นเงาคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๓๖?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทําเหล็กหล่อ เหล็กพืด เหล็กกล้า. (อ. iron). ว. แข็งแกร่ง เช่น บุรุษเหล็ก.
เหล็กจาร : น. เหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้น.
เหล็กวิลาด : น. เหล็กเคลือบดีบุก, (โบ) ใช้ว่า เหล็กวิลาศ ก็มี.
เหล็กส่ง : น. เหล็กแท่งเล็ก ๆ สั้น ๆ ปลายข้างหนึ่งแหลมมนคล้ายก้น แมลงสาบ ใช้กดลงที่หัวตะปูแล้วตอกปลายอีกข้างหนึ่งให้หัวตะปู จมลงในเนื้อไม้.
เหล็กเส้น : น. เหล็กที่ทําเป็นเส้น มักมีลักษณะกลม.
เหล็กหมาด : น. เหล็กปลายแหลม มีด้าม สำหรับไชวัตถุให้เป็นรู.
เหล็กหล่อ : น. เหล็กที่ได้มาจากเตาถลุง มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณ ร้อยละ ๒.๒-๔.๕ นอกจากนี้ยังมีธาตุแมงกานีส ฟอสฟอรัส ซิลิคอน และกํามะถันปนอยู่ด้วย หลอมละลายที่ประมาณ ๑๒๐๐ ?ซ.
เหล็กใน : น. เดือยแหลมที่มีในก้นหรือปลายหางสัตว์บางชนิด มีผึ้ง แมงป่อง เป็นต้น.
เหล็กเหนียว : ดู เหล็กพืด.
เหล็กไหล : น. โลหะชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเอาไฟเทียนลนก็ไหลย้อยออกได้.
ขอบเหล็ก : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก เรียกว่า นาขอบเหล็ก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
ขั้วแม่เหล็ก : น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้.
ขั้วแม่เหล็กโลก : น. เรียกบริเวณที่มีแรงแม่เหล็กโลกมากที่สุดทาง ซีกโลกเหนือและใต้ว่า ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ ขั้วแม่เหล็กโลกใต้.
เครื่องเหล็ก : น. สิ่งของเครื่องมือที่ทําด้วยเหล็ก.
ตรละ ๒ : [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
แม่เหล็ก : น. แร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดเหล็กได้.
เลื่อยเหล็ก : น. เครื่องมือสำหรับตัดเหล็ก ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น แถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายและโคนคันเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็ก ที่โคนคันมีด้ามสำหรับจับ.
เศษเหล็ก : น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
สนามแม่เหล็ก : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้น แรงแม่เหล็กผ่าน.
เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า : น. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่อง จากอํานาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอํานาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา,เรียกเครื่องมือสําเร็จที่ใช้สําหรับเปลี่ยนศักย์ ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอํานาจแม่เหล็กว่า ขดลวดเหนี่ยวนํา.
กิ้งกือเหล็ก : น. ชื่อกิ้งกือขนาดเล็กชนิด Polydesmus spp. ในวงศ์ Polydesmidae โตขนาดก้านไม้ขีดไฟ ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร สีดําเป็นมัน ขอบข้างลําตัวและท้องสีครีมอ่อน หากินอยู่ตาม กองขยะ ปุ๋ยหมัก มักซุกอยู่ในที่มืดและชื้น.
กินเหล็กกินไหล : (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อย หรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ.
ขี้เหล็ก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Cassia siamea Lam. ในวงศ์ Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกเหลืองดกเป็นช่อใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดํา มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือสีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อน และดอกกินได้.
คอทั่งสันหลังเหล็ก : (สำ) ว. แข็งแกร่ง, ทรหดอดทน.
โจงกระเบนตีเหล็ก : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
เถาคันเหล็ก : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Ventilago cristata Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae ใบเดี่ยว ผลมีปีก.
เถาวัลย์เหล็ก : ดู รางแดง.
นาขอบเหล็ก : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
ปอดเหล็ก : น. เครื่องกลไกสร้างด้วยโลหะ ใช้ทําให้เกิดการบีบและ ขยายของทรวงอกในการหายใจแทนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ในเมื่อมีอัมพาตของกล้ามเนื้อ เช่นในโรคโปลิโอ. (ปาก) ก. อดทน แข็งแรง (ใช้แก่นักกีฬาประเภทวิ่ง).
พญามือเหล็ก : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Strychnos วงศ์ Strychnaceae คือ ชนิด S. ignatii Berg และชนิด S. lucida R. Br. เมล็ดมีพิษ ใช้ทํายาได้.
มวกเหล็ก : น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
ลูกตุ้มเหล็ก : น. อาวุธที่คนจีนโบราณใช้ในการรบ, ชนิดที่มีหนาม อย่างหนามทุเรียนโดยรอบ เรียกว่า ลูกตุ้มหนามทุเรียน.
หลาวเหล็ก : น. เรียกทิศที่โหรถือว่าไม่ดี.
นวโลหะ : น. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคํา ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคําตัดมาจาก ''เจ้านํ้าเงินว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตําราสร้าง พระพุทธรูป).
เบญจโลห : ะ น. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมา จาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และ สังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้าง พระพุทธรูป).
เรือ : น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทําด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนํา กระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตา ตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัว งอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
ลูกโม่ : น. วัตถุทําด้วยหิน เหล็ก ทองเหลือง เป็นต้น ให้มีรูปกลม ๆ ใช้โม่หรือบดสิ่งของ; ส่วนของปืนที่บรรจุกระสุน เมื่อลั่นไกแล้ว หมุนได้เพื่อให้ลูกปืนตรงกับลํากล้อง.
โลห, โลหะ : [โลหะ] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็น เส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออน จะเป็นไอออนบวก.
ส้อม : น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
สัตโลหะ : [สัดตะ] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียว เป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).
อย, อยัส : [อะยะ, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).
ก้นแมลงสาบ : ว. แหลมมนอย่างก้นแมลงสาบ, เรียกเครื่องมือเหล็ก ที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เหล็กก้นแมลงสาบ.
กรบ : [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะคล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลายด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.
กระแจะ ๓ : น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิด อย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่ สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจาก ปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้าง ข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อ ช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกที จนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือ กำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
กระดูกงู : น. ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลําเรือสําหรับตั้งกง.
กระตัก : (โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์ พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระป๋อง : น. ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของ ต่างๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
กระวิน ๑ : น. ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน เหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัด เอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. (รูปภาพ กระวิน)
กระแส : ไม่ขาดสาย เช่น กระแสน้ำ กระแสลม, โดยปริยายหมายถึง อาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก).