สาเก : น. ชื่อเรียกขนุนสําปะลอพันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด. (ดู ขนุนสําปะลอ ที่ ขนุน๑). (เทียบทมิฬ sakki ว่า ขนุน).
เหล้า : [เล่า] น. นํ้าเมาที่กลั่นหรือหมักแล้ว.
เหล้าขาว : ดู เหล้าโรง.
เหล้าโรง : น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของ เอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก.
เหล้ายาปลาปิ้ง : น. สุราและกับแกล้ม.
เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
แป้งเหล้า : [-เล่า] น. แป้งที่เป็นเชื้อสําหรับทําเหล้า.
มอมเหล้า : ก. ล่อให้กินเหล้าจนเมาครองสติไม่ได้.
หลา : [หฺลา] น. มาตราวัด คือ ๓ ฟุต เป็น ๑ หลา เท่ากับ ๐.๙๑ เมตร.
เซ่นเหล้า : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
สากะ : น. ผัก. (ป.; ส. ศาก).
กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
ขนุนสำปะลอ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus altilis Fosberg ในวงศ์ Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์ที่ผล ไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้.
จอก ๑ : น. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สําหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะเล็ก ๆ รูป ทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น เหล้า ๓ จอก.
ตรลา : [ตะระลา] (แบบ) น. ข้าวต้ม; นํ้าผึ้ง; เหล้า. (ป., ส. ตรล).
น้ำจัณฑ์ : (ราชา) น. เหล้า.
มัทยะ : [มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทําให้เมา, ซึ่งทําให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).
วารุณี : น. เทวีแห่งเหล้า; เหล้า. (ป., ส.).
อาระ : น. เหล้า. (ช.).
ก๊ง : (ปาก) ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า. น. หน่วยตวงเหล้าโรง เป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. (จ.).
กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
กระจายหางดอก : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตําละลาย กับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).
กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
กร่ำ ๔ : [กฺร่ำ] (ปาก) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมา เช่น เมาเหล้า ว่า เมากร่ำ หมายความว่า เมาเรื่อยไป.
กริ่ม : [กฺริ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, อิ่มใจ. ว. อาการที่เมาเหล้าอย่างใจดี เรียกว่า เมากริ่ม.
กรึ๊บ : [กฺรึ๊บ] ว. เสียงเกิดจากการกลืนของเหลวเช่นเหล้าอย่างรวดเร็ว, ลักษณนามเรียกการดื่มเหล้าอึกหนึ่ง ๆ ด้วยอาการอย่างนั้น เช่น ดื่มเหล้ากรึ๊บหนึ่ง ดื่มเหล้า ๒ กรึ๊บ. (ปาก) ก. ดื่ม (มักใช้แก่เหล้า).
กรึ่ม : [กฺรึ่ม] ว. อาการที่เมาเหล้าตลอดทั้งวัน เรียกว่า เมากรึ่ม.
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
กับแกล้ม : [-แกฺล้ม] น. ของกินกับเหล้า, แกล้ม ก็ว่า.
เกาเหลียง ๑ : [-เหฺลียง] น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
แกล้ม : [แกฺล้ม] น. ของกินกับเหล้า, กับแกล้ม ก็ว่า. ว. ไปด้วยกัน, ควบคู่กันไป, แกมกัน, (ใช้แก่กิริยากิน) เช่น กินแกล้มเหล้า.
ไก่สามอย่าง : น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนูเข้าด้วยก็ได้.
ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
เข้ม : ว. แรงกล้า เช่น รสเข้ม เหล้าเข้ม; แก่, จัด, (มักใช้แก่สีและรส) เช่น สีเข้ม.
คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
คอ : น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
ค็อกเทล : น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก; เรียก งานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มและอาหาร ว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
คอทองแดง : (ปาก) ว. ที่ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ.
คออ่อน ๑ : ว. ทนต่อรสอันเข้มหรือรุนแรงของเหล้าไม่ได้, ตรงข้ามกับ คอแข็ง.
ค้างปี : ว. ล่วงเวลานานเป็นปี เช่น เหล้าค้างปี ปลาร้าค้างปี.
ฉุน : ว. แรง, กล้า, (ใช้แก่กลิ่นและรส) เช่น บุหรี่ฉุน เหล้าฉุน. ก. รู้สึกชักโกรธ ขึ้นมาทันที. (ข. ฉุรฺ).
เชื้อ ๑ : น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานอง เดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือ เผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.
ดวด ๑ : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง เดินแต้มตามเบี้ยที่ทอดได้ไปตามตาตาราง. (ปาก) ก. ดื่มทีเดียวหมด (มักใช้แก่เหล้า). ว. เดี่ยว, หนึ่ง; (ปาก) ทีเดียว.
ดองยา : ก. แช่เครื่องยาไว้ในของเหลวมีเหล้าเป็นต้น.
เดือย ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachryma-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นและ ใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือ นํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทําเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้ม แข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทําเครื่องประดับ.
เถื่อน : น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ห่างไกล จากความเจริญ, มักใช้ประกอบคํา ป่า เป็น ป่าเถื่อน; ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ฝิ่นเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน.
ท่อคงคา : น. ส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น.
เท : ก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือ ออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจํานวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือ ตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.