โหลเหล : [-เหฺล] ว. ดูซูบซีดอิดโรย เช่น หน้าตาโหลเหล.
ตระบอง : [ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลว เพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
เหลา ๒ : [เหฺลา] ก. ทําให้เกลี้ยงเกลาหรือให้แหลมด้วยเครื่องมือมีมีดเป็นต้น เช่น เหลาตอก เหลาดินสอ.
เหลา ๑ : [เห-ลา] น. ความหมิ่น; ความสนุก; การเล่น, การกีฬา; การหยอกเอิน; ความสะดวกสบาย. (ส.).
เหลา ๓ : [เหฺลา] น. ภัตตาคาร. (จ.).
เหลาชะโอน : [เหฺลา-] น. ชื่อปาล์มชนิด Oncosperma tigillaria Ridl. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลําต้นมีหนามตามปล้อง.
แหล่ ๑ : [แหฺล่] ว. มาก เช่น เหลือแหล่ หลายแหล่.
แหล่ ๒ : [แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.
โหล่ : [โหฺล่] ว. อยู่ในลําดับสุดท้าย.
หล่อเหลา : (ปาก) ว. งามสมส่วน.
หลู่ : ก. ลบคุณ, ดูถูก, ไม่นับถือ, เช่น หลู่คุณ หลู่เกียรติ.
หูลี่ : ว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัว เป็นต้น.
เหล่ : ว. เขมาก (ใช้แก่ตา).
ไหล่ : น. ส่วนของบ่าตอนที่ติดกับต้นแขน.
มีด : น. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็ก เป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีก ด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มี โคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้าม ซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและ วัตถุประสงค์ที่ใช้.
ส้อม : น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
ก หัน : น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
กะกร่อม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่ จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม, ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่ หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
จุ๊บ ๒ : น. หลอดสําหรับรับของไหลเช่นลมหรือไอนํ้าเป็นต้นให้ผ่านเข้าไป. (อ. tube).
โฉมเฉลา : น. รูปร่างหล่อเหลา, หญิงงามหล่อเหลา.
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ : (สํา) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ ไม่เป็นอันตราย, เป็นคําเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่ สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.
ท้องลาน : ว. มีรูปแบน ๆ เหมือนท้องแห่งลาน อย่างรูปคันกระสุน ที่เหลาแบน ๆ.
โทหฬะ : [-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).
นั่นแหละ : [แหฺละ] คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น นั่นแหละ ใช่แล้ว คุณนั่นแหละ. นั่นเอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
น้ำเกลือ : น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้า หลอดเลือดดํา.
ฟิวส์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นโลหะเจือที่มีขีดหลอมตัวตํ่า เช่น โลหะดีบุกเจือตะกั่ว ใช้ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันมิให้ กระแสไฟฟ้าที่มีขนาดเกินกําหนดเคลื่อนที่เข้าวงจรไฟฟ้าได้. (อ. fuse).
มีดตอก : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างป้าน ๆ สันหนา คมบาง ด้ามยาว และมีปลายงอนขึ้นคล้ายคันธนู ใช้จักตอก เหลาไม้หรือหวาย.
ไม้กลัด : น. สิ่งที่มีปลายแหลม ๒ ข้าง โดยมากทำด้วยไม้ไผ่เหลาเล็ก ๆ หรือ ก้านมะพร้าวตัดเป็นท่อนสั้น ๆ สำหรับใช้แทงขัดกระทงหรือใบตองที่ห่อขนม เป็นต้น; ไม้ไผ่เหลาเป็นอันเล็ก ๆ ปลายเรียวโคนใหญ่ ใช้ขัดมุ่นผมจุกเด็ก.
ไม้สอย : น. ไม้เหลาแหลมคล้ายขนเม่นสําหรับสอยผมทําเป็นไรผม, ไม้สําหรับสอย ของสูง ๆ; ไม้สําหรับใช้, ใช้ประกอบกับคํา เครื่องใช้ เป็น เครื่องใช้ไม้สอย.
ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
เราะ ๑ : น. ไม้ไผ่เป็นต้นเหลาเป็นซี่กลม ๆ ถักให้ติดกันเป็นผืน สําหรับล้อมปลา.
เรือ : น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทําด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนํา กระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตา ตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัว งอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
หละ : [หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการ ลิ้นกระด้างคางแข็ง.
หลี : [หฺลี] น. ชื่อมาตราจีน คือ ๑๐ หลี เป็น ๑ หุน.
แหละ : [แหฺละ] ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ เช่น คนนี้แหละ.
โหล ๑ : [โหฺล] น. ลักษณนามบอกจํานวนนับหน่วยละ ๑๒ เช่น ดินสอโหลหนึ่ง ปากกา ๒ โหล. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ถือกันว่ามีคุณภาพตํ่า เช่น เสื้อโหล.
โหล ๒ : [โหฺล] น. ขวดปากกว้าง มีฝา, ขวดโหล ก็เรียก.
โหล ๓ : [โหฺล] ว. ดูลึกลงไป ในคําว่า ตาโหล.
อีหลี : [หฺลี] (ถิ่นอีสาน) ว. จริง ๆ, บางทีใช้ว่า ดีหลี.
อีเหละเขละขละ, อีเหละเขะขะ : [เหฺละเขฺละขฺละ, เหฺละ] ว. เกะกะ, เกลื่อนกลาด.