Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหา , then หา, เห, เหะ, เหา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหา, 505 found, display 1-50
  1. เหา ๒, เหาฉลาม, เหาทะเล : ดู ติด.
  2. เหา : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
  3. เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
  4. หาเหาใส่หัว : (สำ) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อนรำคาญมาใส่ตน.
  5. ไข่เหา : น. ชื่อมาตราวัดโบราณ, ๘ เส้นผม เท่ากับ ๑ ไข่เหา ๘ ไข่เหา เท่ากับ ๑ ตัวเหา.
  6. เห : ก. เบนไป เช่น เหหัวเรือ, เขว เช่น เขาเหไปเข้าข้างศัตรู, เฉ เช่น รถยนต์ เหออกนอกทาง.
  7. เหะ : ว. เละ ใช้แก่กริยาเมา ในคำว่า เมาเหะ.
  8. เล็น : น. ชื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กมาก ที่กัดหรือทําให้เกิดความ ระคายเคืองต่อร่างกาย ซึ่งอาจหมายถึงพวกไร เหา เห็บ หมัด หรือมด ก็ได้.
  9. ฝ่อ ๑ : ก. เหี่ยวยุบ, เหี่ยวแฟบ, เช่น หัวหอมฝ่อ หัวกระเทียมฝ่อ ไข่เหาฝ่อ, โดยปริยายหมายความว่า ตกใจ, ใจหาย, เสียขวัญ, เช่น ใจฝ่อ ดีฝ่อ.
  10. พรรเหา : [พัน] ว. มาก, ยิ่ง, พันเหา ก็ใช้ เช่น คือ เทพเพียงพันเหา. (สมุทรโฆษ).
  11. เหาษธ ๑ : [มะเหาสด] น. ยาแรงชนิดหนึ่ง; การแก้ไข้อย่างชะงัด. (ส.).
  12. เหาษธ ๒ : [มะเหาสด] น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. (ส.; ป. มโหสธ).
  13. ลิกษา : น. เหา, ไข่เหา. (ส.).
  14. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  15. หา ๒ : ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
  16. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  17. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  18. หาตัวจับยาก : (สํา) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคน เรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.
  19. หาทำยายาก : (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.
  20. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  21. หาเศษหาเลย : (สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
  22. หาห่วงมาคล้องคอ : (สํา) ก. รนหาภาระผูกพันมาใส่ตน.
  23. เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
  24. หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้ : ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้.
  25. หานะ : น. ความเสื่อม, ความทรุดโทรม. (ป.).
  26. หาเลือดกับปู : (สํา) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, รีด เลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.
  27. หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
  28. หาเสียง : ก. แสวงหาการสนับสนุน.
  29. เหนงนายพราน : [เหฺนง-] ดู เขนงนายพราน.
  30. เหนี่ยน : [เหฺนี่ยน] (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ใช้มะเขือพวงเป็นต้นเผาแล้ว คลุกด้วยนํ้าพริกปลาร้า.
  31. เหรอ, เหรอะ : (ปาก) คำที่มีเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า หรือ.
  32. เหลาหลก : [เหฺลาหฺลก] น. ชื่อหมากชนิดหนึ่งเปลือกอ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
  33. เหลิงเจิ้ง : [เหฺลิง-] (ปาก) ว. พล่าม, เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากไม่มีสาระ.
  34. เหะหะ : ว. มีเสียงอึกทึกอย่างคนเมาเหล้า.
  35. แขก ๑ : น. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน.
  36. หาบมิได้, หาบ่มิได้ : [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
  37. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  38. นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
  39. ประสัยหาการ : [ [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
  40. พระหารณย์, พระหารัณย์ : น. ป่าใหญ่. (ป. พฺรหา + ส. อารณฺย).
  41. มเหยงค์ : [มะเห-ยง] น. ภูเขา, เนินดิน. (ป. มหิยงฺคณ).
  42. รนหาที่ : (ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.
  43. ระเหระหน, ระเหหน : ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.
  44. ระเหหัน : ว. ซวดเซเหหันไปมา, วนเวียนไปมา.
  45. เรียกหา : ก. ร้องหา เช่น ลูกเรียกหาแม่ทั้งคืน คนไข้เรียกหาหมอ.
  46. สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก : น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์ องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).
  47. หาริน, หารี : ว. ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).
  48. อัพโพหาริก : ว. ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิด วินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อ ฆ่าคาวหรือชูรสการกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควร นับว่ากินเหล้า. (ป.).
  49. กระเหนียด ๑ : [-เหฺนียด] ก. เสียด.
  50. กระเหนียด ๒ : [-เหฺนียด] ดู เสนียด.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-505

(0.0590 sec)