เหิน : ก. บินอยู่ในระยะสูง เช่น หงส์เหิน นกเขาเหิน, ร่อนอยู่ในระยะสูง เช่น นกนางแอ่นเหินลม.
เหินห่าง : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกันเหมือน เดิม, จืดจาง, ห่างเหิน ก็ว่า.
เหินหาว : ก. บินหรือเหาะไปในอากาศในระยะสูง.
เหินเห่อ : ก. ค้างเติ่ง.
ระหกระเหิน : ก. ด้นดั้นไปด้วยความลําบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลําบากยากเย็น, เช่น ชีวิตของเขาต้องระหกระเหินอยู่ตลอดเวลา, ระเหินระหก ก็ใช้.
ระเหินระหก : ก. ด้นดั้นไปด้วยความลำบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลำบากยากเย็น, ระหกระเหิน ก็ใช้.
ห่างเหิน : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกัน เหมือนเดิม, จืดจาง, เหินห่าง ก็ว่า.
หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
กระทงเหิน : น. ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, หูกระต่าย ก็เรียก; ขื่อกระดูกเชิงกราน.
กระทายเหิน : ดู มหาหงส์.
เดินเหิน : ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ; (ปาก) เดิน.
บันเหิน : ก. เหาะไป, บินไป.
สลาเหิน : น. หมากที่ถือกันว่าเมื่อเสกแล้วเป็นตัวแมลงภู่ ทําให้ผู้กิน แล้วลุ่มหลงรัก.
จรัล : [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
จืดจาง : ก. คลายลง, เหินห่าง, เช่น ความสัมพันธ์จืดจาง.
เจิ่น : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า.
เจื่อน : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
ดีด ๑ : ก. สลัดออกไปโดยแรง เช่น ดีดนิ้ว, สลัดตัวออกไปโดยเร็ว เช่น กุ้งดีด; ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น เช่น ดีดเรือน; เอานิ้วมือหรือไม้สะกิดให้ดัง เช่น ดีดจะเข้, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอานิ้วกดแล้ว ปล่อยทันที เช่น ดีดพิมพ์ ดีดเปียโน, เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วอื่นให้แน่น แล้วสลัดให้ออกจากกันเป็นเสียงดัง เรียกว่า ดีดนิ้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทําห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า.
พลัดที่นาคาที่อยู่ : (สํา) ก. พลัดพรากจากถิ่นฐานเดิม, ระหกระเหิน.
พิทยาธร : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชา กายสิทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ ปฏิบัติพระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).
มหาหงส์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hedychium coronarium Koen. ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกใหญ่ สีขาวล้วนหรือมีสีเหลืองตอนกลาง กลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ลุ่มนํ้าขัง มักปลูกตามบ้าน, กระทายเหิน ก็เรียก, จันทบุรีและระยองเรียก เลเป หรือ ลันเต.
เริดร้าง : ก. ค่อย ๆ เหินห่างและทอดทิ้งไปในที่สุด.
เริศร้าง : (กลอน) ก. ละเลยไป, ห่างเหินไป.
เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
วิโยค : น. การจากไป, การพลัดพราก, ความร้าง, ความห่างเหิน. (ป., ส.).
สัมผัสสระ : น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตรา เดียวกัน เช่น (รูปภาพ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ. (เพลงยาวถวาย โอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย). (นิ. วัดสิงห์).
หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
หมางเมิน : ก. ห่างเหินเพราะขุ่นเคืองใจจนไม่อยากเห็นหน้า.
หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
ออกหาก : ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก.
เอาใจออกหาก : ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, ตีตัวออกหาก ก็ว่า.
หนนะ : [หะนะนะ] น. การฆ่า, การตี, การกําจัด. (ป., ส.).
ครั้ง : [คฺรั้ง] น. คราว, หน, ที.
คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
คาบ ๑ : น. ครั้ง, หน, ระยะเวลาเวียนรอบ, ช่วงเวลา. ก. กลั้นใจบริกรรม เวทมนตร์ครั้งหนึ่ง ๆ.
ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
เทือ, เทื่อ, เทื้อ ๑ : ว. ครั้ง, หน, เตื้อ ก็ใช้.
ปักษวาหน : [ปักสะวาหน] น. นก.
มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
ระเหระหน, ระเหหน : ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.
รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
วันพระไม่มีหนเดียว : (สํา) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
หั่น : ก. เอาของวางลงบนที่รองรับแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ, (ปาก) ตัด เช่น หั่นงบประมาณ.
หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
กาล ๑, กาล- : [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
ครา : [คฺรา] น. ครั้ง, คราว, หน.