Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เอกชน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เอกชน, 21 found, display 1-21
  1. เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.
  2. กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  3. ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  4. กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
  5. กฎหมายมหาชน : (กฎ) น.กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
  6. การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
  7. คดีแพ่ง : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน.
  8. คลินิก : น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พัก รักษาตัวประจํา; แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะทาง. (อ. clinic).
  9. จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
  10. บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
  11. แผงคอ : น. แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อ ราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบ นิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขน ที่สันคอม้า.
  12. แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
  13. ฟาสซิสต์ : น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นํารวบอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพ ในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. (อ. fascism, fascist).
  14. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  15. รถร่วม : น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับ สัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.
  16. รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
  17. เวนคืน : ก. โอนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชน มาเป็นของรัฐ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย.
  18. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  19. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  20. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  21. อาญา : น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺ?า); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับ คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.
  22. [1-21]

(0.0074 sec)