เอกสารสิทธิ : [เอกกะสานสิด] (กฎ) น. เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่ง การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
เอกสารราชการ : [เอกกะ] (กฎ) น. เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทํา ขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และหมายความรวมถึงสําเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย.
ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
ตราตั้ง : น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทาน ให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วน พระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม ความตกลงกัน.
ตราสาร : (กฎ) น. หนังสือสําคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนด ที่ดิน ตั๋วเงิน.
ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
บัตร : [บัด] น. แผ่นเอกสารแสดงสิทธิของผู้ใช้เป็นต้น มักทําด้วยกระดาษ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น บัตรประจําตัว บัตรเลือกตั้ง บัตรสมนาคุณ; ภาชนะทําด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสําหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, ถ้าทําเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้าทําเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ; ใบไม้, กลีบดอกไม้ เช่น ปทุมบัตร; ขนปีก, ปีก เช่น หากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง. (สมุทรโฆษ). (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
ใบสำคัญ : น. เอกสารที่รับรองข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หรือสิทธิ. ใ
ประทวนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อ ผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจํานําสินค้าที่จดแจ้งไว้ ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.
สลักหลัง : (กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไป ซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้ เป็นที่ระลึก.
ไกรสิทธิ : [ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คําหลวง มัทรี).
บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
พยานเอกสาร : (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
ประสิทธิ-, ประสิทธิ์ : [ปฺระสิดทิ-, ปฺระสิด] น. ความสําเร็จ. ก. ทําให้สําเร็จ. (ส. ปฺรสิทฺธิ).
ประสิทธิเม : [ปฺระสิดทิ-] น. คํากล่าวเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่า ขอให้สําเร็จแก่เรา.
กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
กฎหมายแพ่ง : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคล ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
แค็ตตาล็อก : น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
อาชญาสิทธิ์ : [อาดยาสิด, อาดชะยาสิด] น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิ ที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม เป็นต้น, อาญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็น เครื่องหมาย ซึ่งเรียกว่า พระแสงอาชญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาญาสิทธิ์.
อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
กำตาก : น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
กินเปล่า : [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกันว่า เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
ข้อจำกัด : (กฎ) น. สิ่งที่กำหนดขอบเขตสิทธิหรืออำนาจไว้โดยเฉพาะ.
ข้อหา : น. คํากล่าวโทษ; (กฎ) คํากล่าวหาบุคคลว่าได้กระทําความผิด อาญา; คํากล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลใน ทางแพ่ง.
ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
คดีแพ่ง : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน.
ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
ครอบครอง : ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดย เจตนาจะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ จะยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
ค่าทดแทน : (กฎ) น. เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ สำหรับ การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้าง.
ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
ค่าฤชาธรรมเนียม : [-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดําเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสาร และบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.
คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
เคารพ : ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ; ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ส. เคารว; ป. คารว).
งานสารบรรณ : (กฎ) น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร.
เงินกินเปล่า : น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกัน.
จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
จุฑาธิปไตย : [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น จงมา ประสิทธิวจีพระจุฑาธิปไตย. (ปฐมมาลา).
เจ้าของ : น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
เจ้าพนักงานบังคับคดี : (กฎ) น. เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่น ผู้มี อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง สิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาล.