Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แขก , then ขก, แขก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แขก, 65 found, display 1-50
  1. แขก : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
  2. แขก : น. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน.
  3. แขก : น. คําเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร.
  4. แขกเมือง : น. แขกของบ้านเมือง.
  5. แขกไม่ได้รับเชิญ : (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำ ให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์ บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้ รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญ จะเข้ามา.
  6. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  7. แขกเต้าเข้ารัง : น. ท่ารําท่าหนึ่ง.
  8. จำปาแขก : ดู จําปีแขก(๑).
  9. จำปีแขก : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Michelia figo (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกคล้ายดอกจําปีแต่เล็กกว่า กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาล มีขนหนานุ่ม กลีบดอกแข็งสีนวล กลิ่นหอมมาก, จําปาแขก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Pterospermum diversifolium Blume ในวงศ์ Sterculiaceae กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาล กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอมอ่อน.
  10. เลี้ยงแขก : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ได้รับเชิญเช่น เลี้ยงแขกในงานมงคล สมรส อาหารพวกนี้สำหรับเลี้ยงแขก.
  11. กล้วยแขก : น. กล้วยน้ำว้าชุบแป้งทอด.
  12. กินแขก : (ถิ่น-พายัพ) ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน.
  13. ข้าวแขก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเปียก มีหน้าคล้ายตะโก้ แต่สีเหลือง มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
  14. ทุเรียนแขก : ดู ทุเรียนเทศ.
  15. ประดู่แขก : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia sissoo Roxb. ex DC. ในวงศ์ Leguminosae.
  16. คำมูล : น. คําคําเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคําอื่น เช่น ยาม แขก นาฬิกา.
  17. ปาหุณ : [ปาหุน, ปาหุนะ] (แบบ) น. ผู้มาหา, แขก. (ป., ส.).
  18. กรมท่าขวา : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับชนชาวแขก.
  19. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  20. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  21. กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
  22. กลิงค์ : [กะลิง] น. เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์, กลึงค์ หรือ กะเล็ง ก็ว่า. (คํานี้เดิมหมายถึงชาวอินเดียที่มาจาก แคว้นกลิงคราษฎร์).
  23. กลึงค์ : [กะลึง] น. แขกกลิงค์. (ดู กลิงค์).
  24. กะดี : น. โรงที่ประชุมทําพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น เช่น กะดีเจ้าเซ็นแขกเต้น ตีอก. (นิ. ประธม). (เทียบ ฮินดี คัดดี ว่า พระแท่น).
  25. กะเล็ง : น. แขกกลิงค์.
  26. กุลา ๒ : น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุหล่า หรือ คุลา ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ) ใช้เรียกชนต่างประเทศ เช่น เรียกชนชาติฝรั่งว่า กุลาขาว, เรียก ชนชาติแขกว่า กุลาดํา.
  27. โกญจา : (กลอน) น. นกกระเรียน เช่น แขกเต้าดุเหว่าแก้ว โกญจา. (โลกนิติ). (ป.).
  28. ข้าวบุหรี่ : น. ข้าวหุงอย่างวิธีของแขกมีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว. (กะบุลี แปลว่า ข้าวปรุงอย่างแบบชาวกรุงกาบุล).
  29. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  30. โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
  31. ชนะ ๒ : [ชะ] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกลองแขก ใช้ตีด้วยไม้ ใช้เฉพาะในงานหลวง.
  32. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  33. เชื้อ ๑ : น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานอง เดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือ เผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.
  34. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  35. ทะเทียด : น. กลองแขกมี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใช้มือตี อีกหน้าหนึ่งใช้ไม้ตี ใช้ในกระบวนแห่.
  36. ทุเรียนเทศ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Annona muricata L. ในวงศ์ Annonaceae ผลมีหนามขรุขระ รสหวานอมเปรี้ยว กินได้, ทุเรียนแขก ก็เรียก.
  37. บ้านรับรอง : น. บ้านที่สร้างไว้สําหรับรับรองแขก.
  38. ปฏิคม : น. ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ.
  39. ปฏิสันถาร : น. การทักทายปราศรัยแขกผู้มาหา (มักใช้แก่ผู้น้อย); การต้อนรับแขก. (ป. ปฏิสนฺถาร).
  40. ประทุมราค : [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตาก ปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
  41. ปาทาน : น. เรียกแขกเผ่าหนึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอัฟกานิสถาน ว่า แขกปาทาน. (ฮ. ปฐาน).
  42. ปาหุไณย- : [-ไนยะ-] (แบบ) ว. ที่ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป. ปาหุเณยฺย).
  43. ปาหุไณยบุคคล : น. คนผู้ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป.).
  44. ผีเสื้อเงิน : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Monodactylus argenteus ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ครีบหลังและ ครีบก้นยาวพื้นลําตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดําพาดขวาง ผ่านตา ๑ แถบและอีกแถบโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบ หน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก.
  45. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  46. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  47. พิณพาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
  48. แม่งาน : น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง เช่น เขาเป็นแม่งาน ในการจัดเลี้ยงแขกที่มาในงาน.
  49. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  50. รับรอง : ก. รับประกัน เช่น รับรองว่าเป็นของแท้; ต้อนรับ เช่น รับรอง แขกเมือง.
  51. [1-50] | 51-65

(0.0501 sec)