แขนง ๑ : [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อย ที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
แขนง ๒ : [ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คําหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.
แขนง ๓ :
ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า๑.
กิ่ง : น. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยก ออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอําเภอ กิ่งสถานีตํารวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่ง ในกระบวนพยุหยาตรา.
สาขา : น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ธนาคาร ออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
ขนง : [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.
กวางป่า : น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กีบแรด : น. ชื่อเฟินชนิด Angiopteris evecta Hoffm. ในวงศ์ Marattiaceae ทางใบยาวแยกแขนง ที่โคนก้านใบมีส่วนคล้ายกีบแรดหรือ กีบม้ากํากับอยู่ ใช้ทํายาได้, ว่านกีบแรด หรือ ว่านกีบม้า ก็เรียก.
ไก่กอม : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Ehretia วงศ์ Ehretiaceae คือ ชนิด E. acuminata R. Br. ขอบใบจักถี่ ผลกลมเล็ก กินได้ และชนิด E. timorensis Decne. ดอกเล็กมาก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลิ่นหอม.
คล้า : [คฺล้า] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูง ๑-๒ เมตร แตกแขนงตามลําต้น ใบกว้าง.
คลุ้ม ๒ : [คฺลุ้ม] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Donax grandis Ridl. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูงถึง ๓ เมตร สีเขียวเข้ม แตกแขนงตอนปลาย ผิวแข็ง ใช้สานเสื่อได้ ใบคล้ายคล้าแต่ขนาดใหญ่กว่า.
เคมี : น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติ ของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อ สารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สาร นั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. (อ. chemistry).
เคมีอนินทรีย์ : [-อะนินซี] น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ ธาตุทั้งสิ้นและสารประกอบของธาตุเหล่านั้น ยกเว้นธาตุคาร์บอนซึ่ง ศึกษาแต่เพียงตัวธาตุคาร์บอน สารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนตเท่านั้น. (อ. inorganic chemistry).
เคมีอินทรีย์ : น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบ ทั้งสิ้นของธาตุคาร์บอน ยกเว้นเรื่องสารประกอบออกไซด์ สารประกอบ ซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนต. (อ. organic chemistry).
แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
จิตวิทยา : [จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วย ปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.
จิตเวชศาสตร์ : [จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษา การตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).
ช้องนางคลี่ : น. ชื่อไม้อิงอาศัยไร้ดอกชนิด Lycopodium phlegmaria L. ในวงศ์ Lycopodiaceae ลําต้นยาวห้อยลง แยกแขนงเป็นคู่ ๆ.
ตรีโกณมิติ : [ตฺรีโกน-] น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยฟังก์ชันของตัวแปรจริง ซึ่งแทนขนาดของมุมใด ๆ, คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการใช้ฟังก์ชันของมุม เป็นรากฐานในการศึกษาสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหรือรูปอื่นใดที่ทอนลงมาเป็น รูปสามเหลี่ยมได้. (อ. trigonometry).
ตะแง้ : น. เรียกแขนงของทะลายหมากหรือแขนงของรวงข้าว ว่า ตะแง้หมาก ตะแง้ข้าว, ระแง้ ก็เรียก.
ทัศนศาสตร์ : น. วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งว่าด้วยเรื่องราวของแสง. อ. optics).
นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
บานไม่รู้โรย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Gomphrena globosa L. ในวงศ์ Amaranthaceae ลําต้นค่อนข้างแข็งแตกแขนงเป็นพุ่มเล็ก ๆ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ดอกกลม ๆ สีขาว ชมพู หรือม่วงแดง ดอกทนอยู่ได้นาน.
ปฐพีวิทยา : [ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
ประวาล : [ปฺระวาน] น. หน่อหรือแขนงต้นไม้ที่แตกออก. (ส.).
พลศาสตร์ : [พนละ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ เทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. (อ. dynamics).
พะอง : น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูก พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันไดถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูก ต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
พีชคณิต : [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
แพร้ว ๒ : (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ทะลายไม่แยกแขนง ผลมีจุกตอนปลาย, มะแพร้ว ก็เรียก.
ฟิสิกส์ : น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งซึ่งกล่าวถึงสมบัติทางกายภาพ ของสารต่าง ๆ และพลังงาน. (อ. physics).
ภูมิศาสตร์กายภาพ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่อง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.
ภูมิศาสตร์การเกษตร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการ กสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.
ภูมิศาสตร์การเมือง : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่อง เกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก.
ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
ภูมิศาสตร์ประวัติ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง ปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้.
เภสัชกรรม : [เพสัดชะกํา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม เครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสําเร็จรูป.
เภสัชเคมี : [เพสัด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม การ สังเคราะห์ การวิเคราะห์ และการทําสารเคมีที่ใช้เป็นยาให้ได้มาตรฐาน.
เภสัชพฤกษศาสตร์ : [เพสัดชะพฺรึกสะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่า ด้วยพืชที่ใช้เป็นยา.
เภสัชวิทยา : [เพสัดชะวิดทะยา, เพสัดวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ ว่าด้วยฤทธิ์ของยาหรือของสารที่มีต่อสิ่งมีชีวิต.
เภสัชเวท : [เพสัดชะเวด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุโดยตรง หรือสารที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น, วิทยาศาสตร์ แขนงที่ว่าด้วยสมุนไพร.
เภสัชศาสตร์ : [เพสัดชะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวน การต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบําบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค.
เภสัชอุตสาหกรรม : [เพสัดอุดสาหะกํา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการ เตรียมยาระดับอุตสาหกรรม.
โภชนาการ : [โพชะนา, โพดชะนา] น. วิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต.
ไม้ไล่ : น. ชื่อไผ่ชนิด Gigantochloa albociliata Munro ในวงศ์ Gramineae ลําแตกแขนง ไม่มีหนาม; ไม้ต่าง ๆ.
ระแง้ : น. เรียกแขนงของทะลายหมากหรือแขนงของรวงข้าวว่า ระแง้หมาก ระแง้ข้าว, ตะแง้ ก็ว่า.
รังสีวิทยา : น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยรังสีเอกซ์และกัมมันตภาพรังสี รวมทั้งการใช้รังสีวิเคราะห์และรักษาโรค. (อ. radiology).
ราชมาษ, ราชมาส : [ราดชะมาด] น. ชื่อถั่วชนิด Phaseolus lunatus L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อไม่แตกแขนง, มาส ก็เรียก.
เรขาคณิต : (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจําแนกประเภทสมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ ที่กําหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.