แข็งกล้า : ว. กล้ายิ่งนัก.
แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
แรง ๑ : น. กําลัง เช่น แรงคน ไม่มีแรง มีแรงมาก ออกแรง, อํานาจ เช่น แรงเจ้าที่ แรงกรรม. ว. ฉุน, จัด, กล้า, เช่น กลิ่นแรง; ใช้กําลังกระทําถึงขีด เช่น อย่าทำแรง ตีแรง ๆ, แข็ง, มีกําลัง; ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ที่นี่เจ้าที่แรง; อัตรา การทำงาน กำหนดเป็นกำลังคนต่อช่วงเวลาหนึ่ง เช่น งานนี้ต้องใช้ ๑๐ แรง. ก. ออกแรง; หมกมุ่น เช่น แรงเสพ แรงเล่น.
ปีกกล้าขาแข็ง : ก. พึ่งตัวเองได้, เป็นคําที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตําหนิ ติเตียนผู้น้อย.
กล้า ๒ : [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า.
ดีพร : [ดีบ] (แบบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
กล้า ๑ : [กฺล้า] น. ต้นข้าวที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกในที่อื่นว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ.
แข็งใจ : ก. ทําใจให้กล้า, ทําใจให้เข้มแข็ง.
แก่กล้า : ก. เข้มแข็ง, ยวดยิ่ง, เช่น ศรัทธาแก่กล้า.
กล้านักมักบิ่น : (สํา) ว. กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย.
แข็งตัว : ก. เปลี่ยนสภาพไปมีลักษณะแข็ง.
แข็งแรง : ว. มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น ทํางานแข็งแรง.
กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
แข็งข้อ : ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้.
แข็งขัน : ว. ขยันไม่ย่อท้อ, เอาจริงเอาจัง, มีกําลังมาก.
แข็งมือ : ก. ทําเต็มกําลังไม่ย่อท้อ.
แข็งเมือง : ก. กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป.
ข้าวกล้า : น. ต้นข้าวที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, กล้า ก็เรียก.
กำลังภายใน : น. กําลังที่เร้นอยู่ภายใน, กําลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้ จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้.
กำแหง : [-แหงฺ] ว. แข็งแรง, กล้าแข็ง, เข้มแข็ง. ก. อวดดี.
ขัน ๒ : ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด. (สมุทรโฆษ).
คำแหง : [-แหงฺ] ว. กําแหง, แข็งแรง, กล้าแข็ง, เข้มแข็ง.
ฉกาจ, ฉกาจฉกรรจ์ : [ฉะกาด, ฉะกาดฉะกัน] ว. เก่งกาจ, ดุร้าย, กล้าแข็ง.
ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ปลุก : [ปฺลุก] ก. ทําให้ตื่นจากหลับ, ทําให้ได้สติรู้สึกตัว, กระตุ้นให้เกิด แรงกําลัง ความขลัง และความกล้าแข็ง เป็นต้น.
พลว : [พะละวะ] ว. มีกําลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกําลังกล้า. (ป.).
พิริย, พิริยะ : [พิริยะ] น. ความหมั่น, ความกล้า; คนกล้า, คนแข็งแรง, นักรบ. (ป. วิริย; ส. วีรฺย ว่า ความหมั่น, ความกล้า).
เพียร : น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง. ก. พยายามจนกว่าจะสําเร็จ, บากบั่น. (ส. วีรฺย; ป. วิริย).
ลูกผู้ชาย : น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.
หลาหละ : [หะลาหะละ] น. ยาพิษ. ว. ร้ายแรง, กล้าแข็งมาก, เข้มแข็ง. (ป.).
เหี้ยมหาญ : ว. เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด, ห้าวหาญปราศจากความปรานี.
กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
กร้าน : [กฺร้าน] ว. มีผิวด้าน, มีผิวไม่สดใส; กระด้าง, แข็ง, หยาบ.
ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ก้าน ๒ : น. ก่าน, กล้า, เช่น รู้ไป่ทันแก่ก้าน กล่าวถ้อยกลางสนาม. (โลกนิติ).
ก้านแข็ง : น. เรียกกําไลชนิดหนึ่งว่า กําไลก้านแข็ง.
ไกร ๒ : [ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา. (ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
ขะแข่น, ขะแข้น : (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คําหลวง กุมาร), (ม. คําหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
ขันแข็ง : ว. อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ขยันขันแข็ง รับปากขันแข็ง.
เข้มแข็ง : ก. แข็งแรงในการงาน, ขยันขันแข็ง, ไม่ย่อท้อหวั่นไหว.
เขม็ง : [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
จุดแข็ง : น. จุดที่เข้มแข็ง, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้ยาก, ตรงข้ามกับ จุดอ่อน.
ฉุน : ว. แรง, กล้า, (ใช้แก่กลิ่นและรส) เช่น บุหรี่ฉุน เหล้าฉุน. ก. รู้สึกชักโกรธ ขึ้นมาทันที. (ข. ฉุรฺ).
ถัทธ : [ถัด] (แบบ) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป.).
เถียร : ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (แผลงมาจาก ถิร).
ท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องคัด ท้องแข็ง ก็ว่า.
ท้องคัดท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องแข็ง ก็ว่า.
น้ำแข็งกด : น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่ง.
น้ำแข็งเปล่า : น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ใส่น้ำหรือน้ำชา.