แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
แคร่ ๒ : [แคฺร่] น. ส่วนบนของเครื่องพิมพ์ดีดที่เลื่อนไปมาได้ ใช้สอดกระดาษ สำหรับพิมพ์.
แม่แคร่ : น. กรอบไม้หรือไม้ไผ่ประกับแคร่ทั้ง ๔ ด้าน.
สกัดแคร่ : น. โคลงทวารประดับ.
หอกข้างแคร่ : (สํา) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.
คานหาม : น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม, ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชยานคานหาม.
แผงลอย : น. ที่ที่จัดไว้ในถนนสาธารณะหรือที่สาธารณะ รวมตลอด ถึง อาคาร แคร่ แท่นโต๊ะ แผง เสื่อ พื้นดิน เรือ หรือ แพ สำหรับ ขายอาหาร น้ำแข็ง หรือสิ่งของอย่างอื่น.
กระทงเพชร : น. ไม้ติดขวางรองแคร่เกวียนเพื่อยึด ไม่ให้แคร่แยกออกไป.
กัญญา ๒ : [กันยา] น. เครื่องบังแดดรูปหลังคา ใช้สําหรับแคร่หามหรือเรือยาว เพื่อเป็นเกียรติยศ, เรียกแคร่หามหรือเรือยาวที่มีกัญญาว่า แคร่กัญญา เรือกัญญา.
ตอม่อ : น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า ตะม่อ ก็มี. (รูปภาพ ตอม่อ)
ทวารประดับ : [ทะวาน-] น. ชื่อโคลงโบราณ, สกัดแคร่ ก็เรียก.
ทูบ : น. ไม้แม่แคร่เกวียนที่ยื่นออกไปติดกับแอก.
เท้ง ๓ : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายเรือกําปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสําหรับ ชักใบ กลางลํามีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลม และมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ, ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุน เรือนแพ.
โทรพิมพ์ : น. ระบบโทรคมนาคมที่ใช้เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลข ประกอบด้วยแป้นพิมพ์และแคร่พิมพ์ ลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด สามารถรับส่งสัญญาณโทรเลขเพื่อพิมพ์เป็นตัวอักษรบนกระดาษพิมพ์ และส่งตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสัญญาณโทรเลขผ่านวงจรโทรเลขที่ต่ออยู่ กับเครื่องโทรพิมพ์นั้นได้. (อ. teletype).
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
เรือเท้ง : น. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่ เจาะรูสมอ; เรือต่อชนิดหนึ่งหัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ.
แร่ง ๒ : น. ที่วางศพหามศพรูปอย่างแคร่.
ครู่ ๑ : [คฺรู่] น. เวลาชั่วขณะหนึ่ง เช่น เวลาชั่วครู่.
ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
กรกัติ : [กฺระกัด] (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษณะ : [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ).
ขณะ : [ขะหนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ).
ขษณะ : [ขะสะหฺนะ] (โบ) น. ครู่, ครั้ง, คราว, เช่น ขษณะอัฒรติเวลา. (สมุทรโฆษ). (ส. กฺษณ; ป. ขณ).
คระ ๒ : [คฺระ] ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย คระโหย.
ครึ : [คฺรึ] (ปาก) ว. เก่าไม่ทันสมัย.
ครุ ๑ : [คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.
ครู ๑ : [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
คฤห, คฤห- : [คฺรึ, คะรึหะ-] น. เรือน, ช่องคูหา, ที่นั่งบนเรือหรือรถมีลักษณะ อย่างเรือน เช่น เรือคฤห รถคฤห. (ส.).
แคระ : [แคฺระ] ว. เตี้ยเล็กกว่าปรกติ เช่น คนแคระ ม้าแคระ ต้นไม้แคระ.
ใคร ๑ : [ไคฺร] ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่นใครมา เขาไปกับใคร.
ใคร ๒, ใคร ๆ : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
ชู้สาว : ว. รัก ๆ ใคร่ ๆ, เชิงกามารมณ์, เช่น เรื่องชู้สาว.
ตระกัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด ใน ความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
ประโลมโลก : ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
ใฝ่ : ก. มุ่ง, หวัง, ใคร่, ผูกพัน.
พลอดรัก : ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ.
มหุรดี : น. ครู่, ขณะ, ชั่วโมง. (ส. มุหูรฺต, มุหูรตฺต).
ร่าน ๒ : ก. อยาก, ใคร่, (มักใช้ในทางกามารมณ์); รีบ, ด่วน.
อยาก : [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่ เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.