แค่ : ว. เพียง, เท่า.
เท่า ๑ : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
ปัญญาแค่หางอึ่ง : (สํา) ว. มีความรู้น้อย, โง่.
กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
เกรียก ๒ : [เกฺรียก] น. ระยะยาวชั่วนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กางออก เช่น ยาวแค่เกรียก.
เกะ : ว. สั้น เช่น ควายเขาเกะแค่หู. (สิบสองเดือน).
ขาก๊วย : น. กางเกงจีนขาสั้นแค่เข่า.
คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
เท่านั้น : ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคําเน้นความแสดง จํานวนจํากัดจําเพาะ.
ปากกริว : น. รอยปากไม้คล้ายปากกบ แต่มีรอยผ่ามุมฉากไม่ตลอด เหมือนปากกบ ผ่าแค่หมดลวดเท่านั้น.
ผิดนัก : (สำ) ถ้าพลาดไป เช่น ผิดนักก็แค่ตาย.
ราว ๒, ราว ๆ : ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราว ธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆ เที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.
ลองเชิง : ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประ หมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
ลองภูมิ : [พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
เลือดเข้าเลือดออก : ก. มีบาดแผล เช่น แค่หนามเกี่ยวก็ถึงกับเลือด เข้าเลือดออกแล้ว.
เลือดตกยางออก : ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึง เลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด ตกยางออกเลย.
สอบ ๑ : ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือ วัด ให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้ มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.
หน้าตัก : น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก
หยิบมือเดียว : (สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไป รบกับใครเขาได้.
หัวหด : ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบ กับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.
หายหัว : ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.
เอง : ว. คําเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดา อยู่เอง; ตามลําพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.
เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.