แจว : น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ลักษณะคล้ายพาย แต่ด้ามยาวเรียว มีที่มือจับเรียกว่า หมวกแจว ใช้หูแจวคล้องเข้ากับหลักแจว. ก. เอาแจวพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน; (ปาก) รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว.
ราแจว, ราพาย : ก. เอาแจวหรือพายแตะน้ำเรียด ๆ เพื่อชะลอเรือไว้.
หมวกแจว : น. ไม้ที่สวมหัวแจวสําหรับจับ.
หลักแจว :
น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสําหรับยึดแจว; ชื่อทรงผมแบบหนึ่ง. (ดู ผมหลักแจว).
หัวแจว : น. ปลายสุดของด้ามแจวตรงที่สวมหมวกแจว.
หูแจว : น. วงด้ายดิบหรือเชือกที่ชุบนํ้าบิดให้เป็นเลข 8 อาระบิก (?) สําหรับคล้องแจวให้ยึดกับหลักแจว.
กุแหละ : [-แหฺละ] น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สําหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
เรือกุแหละ : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและ ท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับ บรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
กรรเชียง : [กัน-] น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับ พาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกรรเชียง, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี.
กระเชียง : น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับพาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกระเชียง, กรรเชียง ก็ว่า.
กราด ๓ : [กฺราด] น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบกับเรือ, บางถิ่นเรียกว่า กรีด หรือ เรือกรีด, เวลาจับสัตว์น้ำใช้แจวไปตาม ฝั่งคลองหรือแม่น้ำ โดยให้ไม้สําหรับกรีดนั้นระไปในน้ำ.
จ้ำ ๑ : ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
ผีหลอก ๑ : น. เรือแจวจับสัตว์นํ้าในลําคลองและลํานํ้าชนิดหนึ่ง จับได้ทั้งปลาและกุ้งกราบเรือด้านหนึ่งติดแผ่นกระดานทาสีขาว ปล่อยริมข้างหนึ่งให้ลงนํ้า กราบอีกด้านหนึ่งมีตาข่ายกันมิให้ปลา และกุ้งกระโดดข้าม ใช้จับเวลากลางคืน ปลาตกใจจะกระโดดเข้า มาหาเรือเอง.
เรือจ้าง : น. เรือที่แจวหรือพายรับจ้างข้ามฟาก ปรกติใช้เรือสำปั้น.
เรือผีหลอก : น. เรือแจวชนิดหนึ่ง สำหรับจับสัตว์น้ำในลำคลองและลำน้ำ ในเวลากลางคืน กราบเรือทางขวาติดแผ่นกระดานทาสีขาวปล่อยริมข้าง หนึ่งให้ลงน้ำ กราบซ้ายมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ปลา ตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง.
เรือโล้ : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสำหรับยืนโล้ไป ใช้ตามชายฝั่งทะเล.
เรือสำปั้น : น. เรือต่อเสริมกราบชนิดหนึ่ง เดิมทำด้วยไม้กระดาน ๓ แผ่น ท้ายสูงกว่าหัวเรือ ใช้แจวหรือพาย.
เรือแหวด : [แหฺวด] น. เรือแจวชนิดหนึ่ง มีเก๋งรูปยาว ๆ ท้ายโตและสูง.
โล้ : ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
หลัก ๑ : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
แหวด : [แหฺวด] น. ชื่อเรือแจวชนิดหนึ่ง มีเก๋งรูปยาว ๆ ท้ายโตและสูง เรียก เรือแหวด.
จั่ว ๑ : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคาสําหรับกันลมและแดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, หน้าจั่ว ก็ว่า.
จั่ว ๒ : ก. ลากไพ่จากกองมาเปิด, เปิดไพ่ในกอง.
แจ่ว : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าปลาร้าหรือน้ำปลาใส่พริกป่น.
บัน ๑ : น. จั่ว (หน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร เรียกว่า หน้าบัน). บันแถลง [-ถะแหฺลง] น. หน้าบันขนาดเล็ก ใช้ประดับเป็นกระจัง.
หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
หน้าบัน : น. จั่ว (ใช้แก่ปราสาท โบสถ์ วิหาร เป็นต้น).