แซ่ ๑ : ว. มีเสียงอื้ออึงจนฟังไม่ได้ศัพท์, โจษกันแพร่หลาย.
แซ่ ๒ : น. ชื่อสกุลวงศ์ของจีน. (จ.).
แซ่ซ้อง : ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
กระซ่องกระแซ่ง : ว. กระย่องกระแย่ง, ซ่องแซ่ง ก็ว่า.
ขรม : [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
ซ่องแซ่ง : ว. กระย่องกระแย่ง, กระซ่อง กระแซ่ง ก็ว่า.
เซ็งแซ่ : ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
มะมี่ : (กลอน) ก. มี่, อึงมี่, เอิกเกริก, แซ่, อึกทึก.
ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ : ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
จรรโจษ : [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
จอแจ : ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ เช่น เวลาจอแจเต็มที.
จันโจษ : ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี.
เจี๊ยว ๑ : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง หรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด. ว. อาการที่ ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
เจี๊ยวจ๊าว : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมาก เป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อ ให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า.
โจษ, โจษจัน : [โจด, โจดจัน] ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้.
ซะซร้าว : [ซ้าว] (กลอน) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
ซุมแซว : (โบ) ว. เซ็งแซ่, จอแจ.
ซู่ซ่า : ว. ที่โจษกันเซ็งแซ่อยู่พักหนึ่ง เช่น ข่าวซู่ซ่า.
เซ็ก : (กลอน) ก. เซ็งแซ่ เช่น เซ็กห้องเสียงหัว. (นิทราชาคริต).
แซด : ว. มีเสียงเซ็งแซ่จนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น คุยกันแซด.
ประดัง : ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
พรรลาย : [พันลาย] ก. มากมาย, เกลื่อนกลาด; เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียง พรรลาย. (ตะเลงพ่าย).
เพรียกพร้อง : ก. ร้องเซ็งแซ่ (ใช้แก่นกเป็นต้น).
มี่ : ว. อึกทึก, เสียงแซ่.
ระงี่ : (โบ) ว. ดัง, ระงม, เซ็งแซ่.
ระเบ็ง ๒ : ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, มักใช้เข้าคู่กับคํา เซ็งแซ่ เป็น ระเบ็งเซ็งแซ่, ละเบ็ง ก็ว่า.
ละเบ็ง : ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, ระเบ็ง ก็ว่า.
เล่าลือ : ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
เลื่อง : ก. ลือ, โจษแซ่.
โล่งโต้ง, โล้งโต้ง : ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
หนวกหู : ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.
อลเวง : [อนละ] ว. เซ็งแซ่, ไม่เป็นระเบียบ.
อื้อฉาว : ว. แพร่งพราย, เซ็งแซ่, กระจาย, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม).