แดก ๑ : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่าง เกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยา อย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่ง ที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ.
แดก ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกปลาที่หมักใส่เกลือโขลกปนกับรําแล้วยัดใส่ไหว่า ปลาแดก, ปลาร้า.
ดก : ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่า ปรกติเรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คน ที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคําพูดประชด เช่น พูดว่าได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.
ลมแดกขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา.
ลมสว้าน : [สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
เนื้ออ่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่ แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็น สีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบ หลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่ เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
แป :
น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
กระเบื้องถ้วยกะลาแตก : น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็น ชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุดหมดราคา.
ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
มะพร้าวตื่นดก : (สํา) ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี, มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี.
ลูกดก : ว. มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า พ่อลูกดก แม่ลูกดก.
สรล้าย : [สฺระหฺล้าย] (กลอน) ก. สลาย, แตก, กระจาย, เรี่ยราย, เป็นแนวติด ๆ กันไป.
หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
อกจะแตก : อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกจะแตก, อกแตก ก็ว่า.
ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
อับปาง : ก. ล่ม, จม, แตก, (ใช้แก่เรือเดินทะเล).
กระวูดกระวาด : ว. กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด.
กระเหม็ดกระเหมียด : [-เหฺม็ด-เหฺมียด] ก. ประหยัด. (ปาเลกัว).
ขบไม่แตก : ก. คิดไม่ออก, แก้ไม่ตก, (ใช้แก่ปัญหา).
ข้าวแตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวตอก.
ฆ้องปากแตก : (สํา) ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนําความลับ ของผู้อื่นไปโพนทะนา.
งงเป็นไก่ตาแตก : (สำ) ก. งงมากจนทำอะไรไม่ถูก.
ได้แก่ : สัน. คือ, เท่ากับ, เช่น หนังสือสําหรับค้นความหมายของคําที่เรียง ลําดับตามตัวอักษร ได้แก่พจนานุกรม.
ต้นวายปลายดก : (สํา) น. ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง.
ตบะแตก : ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมด ความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
บ่อนแตก : ก. ก่อเรื่องทําให้คนที่มาชุมนุมกันต้องเลิกไปกลางคัน.
บ้านแตกสาแหรกขาด : (สํา) น. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในบ้านเมืองอย่างร้ายแรงถึงทําให้ต้องกระจัดกระจายพลัด พรากกัน.
เบี้ยหัวแตก, เบี้ยหัวแหลก : น. เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้ว ใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน.
ปัญหาโลกแตก : (ปาก) น. ปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้.
โป๊ะแตก : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา.
พิธีแตก : (ปาก) ว. เสียเรื่อง, ล้มเหลว.
สติแตก : ก. ควบคุมสติไม่ได้.
อกอีปุกแตก, อกอีแป้นแตก : อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง).
โบดก : [-ดก] (กลอน) น. ลูกน้อย, ลูกสัตว์. (ป. โปตก).
โปดก : [-ดก] น. ลูกน้อย, ลูกสัตว์. (ป. โปตก).
ศาฎก : [ดก] น. ผ้า. (ส. ศาฏก; ป. สาฏก).
อันดก : [ดก] น. ความตาย. (ป., ส. อนฺตก).
กะดก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กาบ เช่น กะดกหมาก = กาบหมาก, ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ดก.
เดซิกรัม : [-กฺรํา] น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของกรัม, อักษรย่อว่า ดก. (อ. decigramme).
ตอก ๒ : ก. แตก. น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอกว่า ข้าวตอก.
พกพ่าย : ว. แตก ทําลาย.
ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
วิทธะ : (แบบ) ว. เจาะ, แทง, ฉีกขาด, เป็นแผล, เป็นรู, แตก. (ป., ส.).
หาดก, หาตกะ : [-ดก, -ตะกะ] น. ทองคํา. (ป., ส. หาฏก).
กง ๓ : น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความ เดียวกัน); ไม้สําหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง.
กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).