Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แต่งงาน , then ตงงาน, แต่งงาน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แต่งงาน, 72 found, display 1-50
  1. กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
  2. เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
  3. เร่งเร้า : ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะ แต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือ ก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.
  4. สมรส : [รด] ก. แต่งงาน เช่น นาย ก สมรสกับนางสาว ข. ว. ที่เกี่ยวกับการ แต่งงาน เช่น พิธีมงคลสมรส.
  5. อภิเษกสมรส : (ราชา) ก. แต่งงาน.
  6. กระดังงาลนไฟ : (สํา) น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  7. กล่อมหอ : ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
  8. การ์ด : (ปาก) น. บัตรเชิญในโอกาสต่าง ๆ เช่น การ์ดแต่งงาน การ์ดงานศพ.
  9. กิ่งทองใบหยก : (สํา) ว. เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิงกับชาย ที่จะแต่งงานกัน).
  10. กินแขก : (ถิ่น-พายัพ) ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน.
  11. กินดอง : ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน. (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่งทําเมื่อผัวเมียมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง หรือไม่มีบุตร แต่ได้ทําพิธีแปลงออกครบ ๓ ปี.
  12. กินเหนียว : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. กินเลี้ยงในงานแต่งงาน.
  13. ของชำร่วย : น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและงานศพ.
  14. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  15. ขันหมาก ๑ : น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้น หรือแต่งงาน เป็นเครื่องคํานับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
  16. ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
  17. เขย : น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของ ลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.
  18. คนธรรพวิวาห์ : [คนทันพะ-] น. การได้เสียเป็นผัวเมียกันเองโดย ไม่แต่งงาน. (ส. คนฺธรฺววิวาห).
  19. คนโสด : น. ชายหรือหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, มักใช้หมายถึง ชายโสด.
  20. คลุมถุงชน : (สํา) น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัว ไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน.
  21. คั่ว ๒ : ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมา หลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
  22. เงินก้นถุง : น. เงินจํานวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อ เก็บไว้เป็นเงินก้อนแรก.
  23. เงินขวัญถุง : น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล.
  24. เจ้าบ่าว : น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
  25. เจ้าสาว : น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
  26. ชายโสด : น. ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  27. ชำร่วย : น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและ งานศพ เรียกว่า ของชําร่วย.
  28. ชิงสุกก่อนห่าม : (สํา) ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยัง ไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม.
  29. ซัดน้ำ : (โบ) ก. สาดนํ้าในพิธีแต่งงานบ่าวสาว.
  30. ดอง ๓ : (ถิ่น-อีสาน) น. การแต่งงาน เช่น กินดอง = กินเลี้ยงในพิธีแต่งงาน เกี่ยวดอง = เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน. ว. เนื่องกันในทางเขยหรือ สะใภ้ เช่น เกี่ยวดอง เป็นดองกัน.
  31. ทองแผ่นเดียวกัน : (สํา) ว. เกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน.
  32. ทองหมั้น : น. ทองคําที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง แสดงความ มั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.
  33. ทึนทึก : ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึนทึก, เรียกสาวใหญ่ ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึนทึก, ทึมทึก ก็ว่า.
  34. ทึมทึก : ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึมทึก, เรียกสาวใหญ่ ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึมทึก, ทึนทึก ก็ว่า.
  35. นางพระกำนัล : น. คุณพนักงานหญิงที่ยังมิได้แต่งงาน มีหน้าที่ปฏิบัติ รับใช้พระราชินีในการเสด็จไปในพระราชพิธีต่าง ๆ.
  36. นางสนองพระโอษฐ์ : น. คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับ พระราชเสาวนีย์ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการ ตามพระราชประสงค์ของพระราชินี.
  37. ปาณิเคราะห์ : น. การจับเจ้าสาวด้วยมือ คือ การแต่งงาน. (ส. ปาณิคฺรห; ป. ปาณิคฺคห).
  38. ปาณิธรรม : น. พิธีแต่งงาน. (ส. ปาณิธรฺม).
  39. ผ้าห้อยหอ : (โบ) น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้ว ผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
  40. ผ้าไหว้ : น. ผ้าที่ฝ่ายชายนําไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการเคารพในเวลาแต่งงาน.
  41. ผู้หลักผู้ใหญ่ : น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยัง ทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิด และความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  42. ฝากสู่ : (ถิ่น–อีสาน) ก. อนุญาตให้ชายสมสู่อยู่กินกับหญิงฉันผัวเมีย กันได้ตั้งแต่วันสู่ขอแล้วทําพิธีแต่งงานในภายหลัง.
  43. พ่อสื่อ : น. ชายที่ทำหน้าที่ชักนําชายหญิงให้พบรู้จักรักใคร่และ แต่งงานกัน, ชายผู้ช่วยเหลือให้คู่รักได้ติดต่อหรือพบปะกัน.
  44. เพื่อนเจ้าบ่าว : น. ชายผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน.
  45. เพื่อนเจ้าสาว : น. หญิงผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าสาวในพิธีแต่งงาน.
  46. มงคลสมรส : [มงคน-] น. งานแต่งงาน.
  47. ม่าย : ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย, ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง), เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
  48. ม่ายขันหมาก : ว. เรียกหญิงที่คู่หมั้นตายหรือถอนหมั้นก่อนแต่งงาน.
  49. มีเรือน : ว. มีครอบครัว, แต่งงานแล้ว, (ตามปรกติใช้แก่ผู้หญิง), มีเหย้ามีเรือน ก็ว่า
  50. แม่สื่อ : น. หญิงที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกัน, บางทีเรียกว่า แม่สื่อแม่ชัก.
  51. [1-50] | 51-72

(0.0501 sec)