Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แต่งเพลง, แต่ง, เพลง , then ตง, ตงพลง, แต่ง, แต่งเพลง, พลง, เพลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แต่งเพลง, 587 found, display 1-50
  1. เพลง : [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
  2. เพลงยาว : น. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดง ข้อความรักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).
  3. ผู้ประพันธ์เพลง : น. ผู้แต่งทำนองเพลง, ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง, นักแต่งเพลง ก็เรียก.
  4. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  5. เพลงเชิด : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินทางไกล.
  6. เพลงตระเชิญ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  7. เพลงสาธุการ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงใน พิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุด โหมโรงเช้าโหมโรงเย็น.
  8. เพลงเสมอ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.
  9. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  10. เพลงออกภาษา : น. เพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกันหรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา.
  11. เพลงออกสิบสองภาษา : น. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็น ชุด มี ๑๒ ภาษา.
  12. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  13. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  14. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  15. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  16. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  17. ละครรำ : น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรี ปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  18. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  19. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  20. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  21. บริพนธ์ : [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  22. บริพันธ์ : [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
  23. ประพนธ์ : น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  24. ปริพนธ์ : [ปะริ-] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  25. นางแต่งตัวสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดงเดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบ พระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  26. เนื้อเพลง : น. ส่วนสําคัญของทํานองเพลงที่บอกให้รู้ว่าเป็นเพลงอะไร; ทํานองเพลง.
  27. แม่เพลง : น. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.
  28. แม่สายบัวแต่งตัวค้าง : (สํา) น. ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน แต่เขาไม่มาตามนัด.
  29. เล่นเพลงยาว : (โบ; สํา) ก. ลอบมีจดหมายรักต่อกัน เช่น ไม่อยากเล่น เพลงยาวชื่อฉาวเอย. (สักวาของคุณพุ่ม), เขียนหนังสือโต้ตอบกัน ไปมาไม่รู้จักจบ.
  30. หีบเพลง : น. เครื่องอัดลมทําด้วยไม้หุ้มกระดาษมีรู มีลิ้นใช้นิ้วปิดเปิดให้ เป็นเสียงเพลง.
  31. -กระแต่ง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระต่อง เป็น กระต่องกระแต่ง.
  32. กลอนเพลงยาว : น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
  33. โน้ต ๑, โน้ตเพลง : น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
  34. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  35. ไม่พูดพร่ำทำเพลง : (สํา) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด.
  36. ร้องเพลง : ก. ขับลําเป็นทํานองต่าง ๆ, บางทีก็ใช้ว่า ร้อง คําเดียว.
  37. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  38. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  39. เดินทุ่ง : ก. ตะลุยไป (ใช้ในการอ่าน แต่ง หรือแปลหนังสือ).
  40. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  41. โรยหน้า : ก. เอาของโปรยลงไปบนอาหารเป็นต้นเพื่อให้น่ากินหรือ ชูรส เช่น โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าว, โดยปริยายหมายความว่า แต่ง แต่เพียงผิว ๆ.
  42. ล่อหูล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้หรือหยิบฉวยไปเป็นต้น เช่น แต่ง ทองเหลืองอร่ามล่อหูล่อตา.
  43. กระบวร : [-บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).
  44. กระบูร : [-บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).
  45. คติชาวบ้าน : น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและ ประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่น ของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
  46. ตับ ๒ : น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ. ตับเพลง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่ อยู่ในอัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. ตับเรื่อง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็น เรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตรา ก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
  47. ท่อน : น. ส่วนที่ตัดหรือทอนออกเป็นตอน ๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนกลาง ท่อนหาง, ตอนหนึ่ง ๆ ของเพลงไทย เช่น ท่อน ๑ ท่อน ๒ ท่อน ๓; ลักษณนามเรียกสิ่งที่ตัดแบ่งหรือทอนออกเป็นท่อน ๆ เช่น ฟืนท่อน หนึ่ง ฟืน ๒ ท่อน เพลง ๓ ท่อน.
  48. บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  49. บุหลัน : [-หฺลัน] น. เดือน, ดวงเดือน, พระจันทร์. (ช.); ชื่อเพลงไทยมี ๒ เพลง คือ บุหลันชกมวย และ บุหลันเลื่อนลอย.
  50. ปรัด : [ปะหฺรัด] (กลอน) ก. แต่ง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-587

(0.1679 sec)