Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แท่นหมึก, แท่น, หมึก , then ทน, ทนหมก, แท่น, แท่นหมึก, หมก, หมึก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แท่นหมึก, 142 found, display 1-50
  1. แท่นหมึก : น. ที่ฝนหมึกแท่งของจีน สําหรับใช้พู่กันจุ้มเขียนหนังสือ.
  2. แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
  3. หมึก : น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียน หรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ ลายมือ.
  4. หมึก : ดู ปลาหมึก.
  5. แท่นพิมพ์ : น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่น มีหลายชนิด เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
  6. แท่นมณฑล : น. แท่นยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดาดเพดานด้วยผ้าขาว ติดระบายรอบ ใช้ตั้งปูชนียวัตถุและเครื่องใช้เป็นต้นในการเข้าพิธี เฉลิมฉลองตามลัทธิประเพณี.
  7. หมึกจีน : น. แท่งหมึกสีดำ ก่อนใช้ต้องฝนกับน้ำ แล้วใช้พู่กันป้ายเขียน.
  8. แท่นที่บูชา, : (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์; เรียกโต๊ะสําหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.
  9. น้ำหมึก : น. น้ำที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดำจัด จึงใช้เปรียบกับ ของดำว่า ดำเป็นน้ำหมึก, หมึก ก็ว่า.
  10. ไพที : น. ที่รอง, แท่น, ขอบชายคา คือ ที่สุดชายคาชั้นบนต่อกับชายคา ชั้นล่าง; ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. (ป., ส. เวที).
  11. กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
  12. ช้างยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธาร ยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.
  13. เทวดายืนแท่น : น. เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  14. ปากกาหมึกซึม : น. ปากกาที่มีไส้สําหรับใส่นํ้าหมึกหรือหลอด บรรจุหมึก น้ำหมึกจะค่อย ๆ ไหลซึมออกมาที่ปลายปากกาเอง โดยไม่ต้องจุ้ม.
  15. ยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บน แท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  16. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  17. กระท่อนกระแท่น : ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน.
  18. นั่งแท่น : ก. ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจวาสนา.
  19. ปากกาหมึกแห้ง : น. ปากกาลูกลื่น.
  20. ปลาหมึก : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีขาซึ่งเรียกว่าหนวดอยู่บริเวณหัว อาศัยอยู่ในทะเล มีถุงบรรจุนํ้าสีดําอย่างหมึกสําหรับพ่นเพื่อพรางตัว มีหลายสกุล เช่น ปลาหมึกกระดอง สกุล Sepia ในวงศ์ Sepiidae, ปลาหมึกกล้วย สกุล Loligo และปลาหมึกหอม (Sepioteutis lessoniana) ในวงศ์ Loliginidae, ปลาหมึกสาย สกุล Octopus ในวงศ์ Octopodidae, หมึก ก็เรียก.
  21. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  22. ย่อมุม : ก. ทําให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทาง ด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.
  23. มสิ : [มะสิ] น. เขม่า; หมึก. (ป., ส.).
  24. กระดาษซับ : น. กระดาษที่ทําเนื้อยุ่ย ๆ สําหรับซับหมึกหรือน้ำ.
  25. กรีฑากร : ก. ทํากรีฑา เช่น ปางกรีฑากร อนงค์ในแท่นทอง. (สมุทรโฆษ).
  26. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  27. กะบ่อนกะแบ่น : ว. กระท่อนกระแท่น, ไม่เสมอทั่วกัน, ไม่เรียบเสมอกัน, เช่น ตัดผมกะบ่อนกะแบ่น ทาสีกะบ่อนกะแบ่น.
  28. กัมปี : (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
  29. เกรินบันไดนาค : น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง.
  30. โกษ ๒ : [โกด] (โบ; กลอน) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น ดลเท้าแท่นพรหมโกษ. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส. โกฺษณิ).
  31. จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
  32. จิ้ม : ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ.
  33. จุ้ม : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก.
  34. ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
  35. ชุมสาย : น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่น สี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหม ห้อยว่า พระที่นั่งชุมสาย. (รูปภาพ ชุมสาย)
  36. ซับ : ก. เอาของเช่นผ้าหรือกระดาษทาบลงที่นํ้าหรือสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้นเพื่อให้แห้ง; (ถิ่น–อีสาน) ซึมซาบ, กำซาบ. น. รองในในการฝังเพชรหรือพลอยในกระเปาะ แหวน; เรียกกระดาษที่ใช้ซับหมึกให้แห้งว่า กระดาษซับ; เรียกที่ที่มีน้ำซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่น้ำซับ.
  37. ตะลุง ๒ : น. เรียกไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่าม ช้างหรือ ผูกช้างเครื่องยืนแท่น ว่า เสาตะลุง.
  38. ทวน ๑ : น. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อ ขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทําด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสําหรับ ยึดรูปพรรณอีกข้างหนึ่งสําหรับยึดกับฐานที่ทําไว้โดยเฉพาะเพื่อ นั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่ง ติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำ ไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลาย คันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสําหรับรองตะคัน อบนํ้าหอม.
  39. แท่นลา : น. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทําขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตามประสงค์มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่อง ราชูปโภคเป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว.
  40. บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ : น. แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิต ของพระอินทร์.
  41. บัลลังก์ : น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้เศวตฉัตร เรียก ว่า ราชบัลลังก์, โดยปริยายคํา ราชบัลลังก์ นี้ หมายถึงความเป็น พระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ก็ได้; ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อ พิจารณาคดีในศาล; ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่น เหนือคอระฆัง. ก. นั่งขัดสมาธิ เรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์. (ป. ปลฺลงฺก).
  42. เบญจา : น. แท่นมีเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่น กัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. (เพี้ยนมาจาก มัญจา คือ เตียง).
  43. ปากกา ๑, ปากไก่ : น. เครื่องสําหรับขีดเขียนชนิดหนึ่ง ประกอบ ด้วยตัวปากและด้าม ตัวปากมักทำด้วยโลหะ เช่น ปากกาคอแร้ง ปากกาเบอร์ ๕ ใช้เสียบที่ด้ามจุ้มหมึกหรือน้ำสีอื่นเขียน.
  44. ปากกาลูกลื่น : น. ปากกาที่ใช้ไส้บรรจุหมึกสําเร็จรูป ปลายไส้มักทํา ด้วยโลหะกลมเล็ก ๆ, ปากกาหมึกแห้ง ก็เรียก.
  45. แผงลอย : น. ที่ที่จัดไว้ในถนนสาธารณะหรือที่สาธารณะ รวมตลอด ถึง อาคาร แคร่ แท่นโต๊ะ แผง เสื่อ พื้นดิน เรือ หรือ แพ สำหรับ ขายอาหาร น้ำแข็ง หรือสิ่งของอย่างอื่น.
  46. พิมพ์ดีด : น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ ตัวอักษรไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
  47. พิมพ์ลายนิ้วมือ : ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็น หลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
  48. พิมพ์ลายมือ : ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ ติดอยู่เป็นหลักฐาน.
  49. ภัทรบิฐ : น. แท่นสําหรับเทพบดี หรือพระราชาประทับ ถือว่าเป็น มงคล. (ส.).
  50. ยางลบ : น. ยางไม้หรือพลาสติกบางประเภทที่ทําเป็นแท่งหรือเป็นก้อน ใช้ลบรอยดินสอรอยหมึกเป็นต้น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-142

(0.1298 sec)