Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แบด , then บด, แบด, แปด, แปต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แบด, 111 found, display 1-50
  1. บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
  2. บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
  3. แปด ๒ : ก. เปื้อน, มักพูดเข้าคู่กันเป็น แปดเปื้อน; ปน, ระคน, มักพูดเข้าคู่ กันเป็น แปดปน.
  4. แปด ๑ : น. จํานวนเจ็ดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตก ในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง. แปดบท น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  5. แปดสาแหรก : [-แหฺรก] น. คําเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของ ปู่และย่า ๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและ มารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ ๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). (ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้). แปดเหลี่ยมแปดคม, แปดเหลี่ยมสิบสองคม (สํา) ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก.
  6. บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  7. แปดเปื้อน : ก. เปื้อน.
  8. ผู้ดีแปดสาแหรก : น. ผู้ดีที่สืบทอดกันลงมาตั้งแต่ต้นวงศ์สกุลคือ บิดามารดาของปู่และย่า ๔ บิดามารดาของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘; โดยปริยายหมายถึงคนที่ทํากรีดกรายเอาอย่างผู้ดี. (ดู แปดสาแหรก).
  9. มืดแปดด้าน : ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออก ได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.
  10. แม่หินบด : น. แท่งหินสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องด้านข้างโดยรอบ สำหรับบดยา, คู่กับ ลูกหินบด.
  11. รถบดถนน : น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้ง ขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ ข้างหลัง.
  12. ร้อยแปด : (ปาก) ว. จํานวนมากมายหลายอย่างต่างชนิด, ร้อยแปดพันเก้า ก็ว่า.
  13. รางบดยา : น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่าง คล้ายรางระนาดแต่ก้นสอบ มีลูกบด.
  14. ลูกหินบด : น. หินแท่งกลมยาวสําหรับบดยา, คู่กับ แม่หินบด.
  15. เรือบด : น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง.
  16. หอยแปดเกล็ด : ดู ลิ่นทะเล.
  17. กระบถ : [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
  18. ดาบส : [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรง ไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
  19. สเต๊ก : [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสัน หรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรส ตามชอบ. (อ. steak).
  20. อัฏฐ, อัฏฐะ : [อัดถะ] (แบบ) ว. แปด. (ป.).
  21. อัฐ ๒ : [อัดถะ] ว. แปด. (ป. อฏฺ?).
  22. อัษฎ : [อัดสะดะ] ว. แปด. (ส.; ป. อฏฺ?).
  23. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  24. บทจร : [บดทะ-] (กลอน) ก. เดินไป. (ป.).
  25. บทบงกช : [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
  26. บทบงสุ์ : [บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).
  27. บทบาท : [บดบาด] น. การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยาย หมายความว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
  28. บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
  29. บทภาชน์ : [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
  30. บทภาชนีย์ : [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
  31. บทมาลย์ : [บดทะ-] (แบบ) น. เท้าผู้มีบุญ เช่นกษัตริย์.
  32. บทรัช : [บดทะ-] (แบบ) น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).
  33. บทเรศ : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  34. บทวเรศ : [บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณต บทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
  35. บทวลัญช์ : [บดทะวะลัน] (แบบ) น. รอยเท้า. (ป. ปทวลญฺช).
  36. บทวาร : [บดทะวาน] (แบบ) น. ชั่วก้าวเท้า, ระยะก้าวเท้า, เช่น ทางเล็ก ควรบทวารผู้หนึ่งจะพึงไป. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  37. บทศรี : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
  38. อุปสมบทกรรม : [บดทะกำ] น. การบวชเป็นภิกษุ.
  39. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  40. กรรมบถ : [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).
  41. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  42. กราม : [กฺราม] น. ฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร.
  43. กลบท : [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัส เป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
  44. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  45. กะหรี่ : น. แกงชนิดหนึ่ง สีเหลือง ปรุงด้วยเครื่องแกงกะหรี่; เรียกเครื่องแกงกะหรี่ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศอื่น ๆ บดเป็นผงว่า ผงกะหรี่. (มลายู มาจากทมิฬว่า ผัด; อ. curry).
  46. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  47. กากเพชร : น. ส่วนของเพชรที่คัดออก; ผงแวววาวคล้ายกระจก สําหรับโรยแต่งเครื่องประดับเป็นต้น; เครื่องใช้ตัดกระจก; เครื่องใช้เจียระไนรัตนชาติ; เครื่องบดวาล์ว, เรียกเครื่องลับมีดเป็นต้น ชนิดหนึ่ง ว่า หินกากเพชร.
  48. กาแฟ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
  49. กึ๋น : น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อ จากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียว สําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็นเครื่องช่วย.
  50. กุศลกรรมบถ : [กุสนละกํามะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-111

(0.0491 sec)