ประหลาด : ว. แปลกผิดปรกติหรือมิได้คิดคาดหมายว่าจะเป็นไปได้, น่าพิศวง.
พิลึก : ว. ผิดปรกติ เช่น ทำพิลึก ท่าทางพิลึก, แปลกประหลาด เช่น รูปร่าง พิลึก.
หลาก : ว. ต่าง ๆ เช่น หลากสี, แปลก, ประหลาด, เช่น หลากใจ. ก. ไหลมาก ผิดปรกติโดยกะทันหัน เช่น นํ้าหลาก.
ตระการ : [ตฺระ-] ว. งาม; ประหลาด, แปลก ๆ; หลาก, มีต่าง ๆ.
แปลก, แปลก ๆ : [แปฺลก] ว. แตกต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้ เคยเห็น เป็นต้น เช่น แปลกตา แปลกใจ; ต่าง, เพี้ยนไป, ผิดปรกติ เช่น เป็นคนแปลก.
มาแขก : ก. แปลก, ประหลาด; จรมา, มาสู่.
อัศจรรย์ : [อัดสะจัน] ว. แปลก, ประหลาด. น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่ บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมี ความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. (ส. อาศฺจรฺย; ป. อจฺฉริย).
แปลกปลอม : ว. มีสิ่งอื่นหรือพวกอื่นปนเข้ามา.
กึกกือ : ว. ใช้เข้าคู่กับคํา พิลึก ว่า พิลึกกึกกือ หมายความว่า แปลกประหลาดมาก, ผิดปรกติมาก, ชอบกลมาก.
พิกเลนทรีย์ : [พิกะเลนซี] น. ร่างกายแปลกประหลาด. (ป. วิกล + อินฺทฺริย).
พิลึกกึกกือ : (ปาก) ว. แปลกมาก, ประหลาดมาก, น่าขัน, ชอบกล.
มหัศจรรย์ : [มะหัดสะจัน] ว. แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, ผิดปรกติวิสัยของธรรมชาติ. (ส. มหาศฺจรฺย; ป. มหจฺฉริย).
หลากใจ : ว. แปลกใจ, ประหลาดใจ.
ชอบกล : ว. ต้องด้วยชั้นเชิง, เข้าที, แปลก, น่าคิด.
ผิดประหลาด : ก. แปลกจากที่เคย.
พันลึก : ว. พิลึก, พึงกลัว, แปลก, ลึกซึ้ง, ใช้เข้าคู่กับคํา พันลือ เป็น พันลึกพันลือ ก็มี.
ปลก : [ปะหฺลก] ว. อาการที่ยกมือไหว้ถี่ผงก ๆ (ใช้แก่กริยาไหว้ ว่า ไหว้ปลก ๆ).
โอย ๑, โอ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความรู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกว่ามากยิ่ง แปลก เป็นต้น.
กระแอม ๒ : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุด หรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทําอะไรแปลกไปจาก การประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.
กริยาวิเศษณ์ : (ไว) น. คําวิเศษณ์ใช้ประกอบคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.
กวางเดินดง : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).
ขนเพชร : น. ขนสีขาวที่ขึ้นแปลกเป็นพิเศษ มีลักษณะยาวกว่าปรกติ.
ขวางโลก : ว. แปลกไปจากคนอื่น, ผิดจากปรกติวิสัย.
ข้อสังเกต : น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มี ข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้า มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
คนจร : น. คนแปลกหน้า, คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
ค็อกเทล : น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก; เรียก งานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มและอาหาร ว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
คุณพิเศษ, คุณวิเศษ : [คุนนะ-] น. ความดีแปลกกว่าสามัญ.
จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
ดูรึ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
ดูหรือ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
เดาะ ๑ : ก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืด ไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กําลังจะดี แต่กลับมี ข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคําแทนกริยาหมายความว่า ทําแปลกกว่า ธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.
ถึงว่า : (ปาก) คํากล่าวแสดงความคล้อยตาม เช่น คนหนึ่งพูดด้วยความ แปลกใจว่า ไม่นึกเลยว่าเขาจะเป็นคนเกะกะ'' อีกคนหนึ่งก็คล้อยตามว่า ''ถึงว่าซี''.
ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
นวัตกรรม : น. สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น. (ป. นวต + ส. กรฺม; อ. innovation).
บ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, อุบ๊ะ ก็ว่า.
บิดเบือน : ก. ทําให้ผิดแผกไปจากข้อเท็จจริง, ทําให้ผิดแผกแปลก ไปจากเดิมหรือจากข้อเท็จจริง.
บุปผวิกัติ : น. ดอกไม้ที่ทําให้แปลก, ดอกไม้ที่ทําให้วิจิตรต่าง ๆ. (ป.).
ปกติ : [ปะกะติ, ปกกะติ] ว. ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจาก ธรรมดา, ปรกติ ก็ว่า. (ป.; ส. ปฺรกฺฤติ).
ปรกติ : [ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
ปลาเงินปลาทอง : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus ในวงศ์ Cyprinidae ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์ในต่างประเทศ กันมานานนับพันปีจนมีลักษณะรูปร่างแปลกเพื่อเลี้ยงเป็นปลา สวยงามหรือปลาปล่อย เกล็ดทั่วลําตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจ เป็นสีดําหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง.
เปิ่น : (ปาก) ว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทําการใด ๆ ผิดแปลกไปจาก ปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัวเปิ่น ทำท่าเปิ่น.
แปลง ๒ : [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
ผิด : ว. ไม่ตรงกับความจริงหรือที่กําหนดนิยมไว้, ไม่ถูก, ต่างไป, แปลกไป, เช่น ของสิ่งนี้ผิดกับสิ่งนั้น.
ผิดกลิ่น : ว. แปลกไปจากกลิ่นที่คุ้นเคยและทำให้เกิดปฏิกิริยา.
ผิดตา : ว. แปลกไปจากที่เคยเห็น.
ผิดน้ำ : ก. ดื่มนํ้าจากแหล่งที่ไม่เคยกินจนทำให้ไม่สบาย; ทำผิด จากคำปฏิญาณเมื่อดื่มน้ำสาบาน ทำให้ได้รับผลร้าย; อาการที่ ปลาหายใจไม่สะดวกเมื่อปล่อยลงไปในแหล่งน้ำที่แปลกไป ในคำว่า ปลาผิดน้ำ.
ผิดเพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย, คลาดเคลื่อน, เพี้ยน ก็ว่า. ผิดมนุษย์มนา ว. ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาสามัญ เช่น รูปร่าง ใหญ่โตผิดมนุษย์มนา มีพละกำลังผิดมนุษย์มนา.
ผิดหูผิดตา : ก. ผิดสังเกต, ผิดแปลกไปจากเดิม.
แผลง : [แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลง พยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คําแผลง.
พยติเรก : [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยค ใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).