Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปฺลง , then ปลง, แปฺลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แปฺลง, 31 found, display 1-31
  1. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  2. แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
  3. แปลง ๒ : [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
  4. แปลง ๓ : [แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
  5. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  6. ปลอมแปลง : [-แปฺลง] ก. ทําเลียนแบบให้ดูเหมือนของจริง.
  7. เปลี่ยนแปลง : [-แปฺลง] ก. ทําให้ลักษณะต่างไป.
  8. ปลงกรรมฐาน : [ปฺลงกํามะถาน] ก. พิจารณากรรมฐาน.
  9. ปลงช้าง : ก. ปลดเปลื้องของหนักบนหลังช้างแล้วปล่อยให้พัก.
  10. ปลงชีวิต : ก. ฆ่า.
  11. ปลงธรรมสังเวช : [ปฺลงทํามะสังเวด] ก. เกิดความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล).
  12. ปลงธุระ : ก. ทอดธุระ, วางธุระ.
  13. ปลงบริขาร : ก. มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย (ใช้แก่บรรพชิต).
  14. ปลงสังขาร : ก. พิจารณาเห็นว่าเราจะต้องตายเป็นแน่แท้.
  15. ปลงสังเวช : ก. พิจารณาเห็นเป็นเรื่องน่าสลดใจหรือน่าสมเพช.
  16. ปลงอนิจจัง : ก. รู้สึกสังเวชใจว่าไม่น่าจะเป็นถึงเช่นนั้น.
  17. ปลงอาบัติ : ก. แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
  18. ปลงอายุสังขาร : ก. บอกกําหนดวันสิ้นสุดแห่งอายุ (ใช้แก่พระพุทธเจ้า).
  19. ปล่ง : [ปฺล่ง] ว. ปลอด, ตลอด, จะแจ้ง, เป็นทางไป, กระจ่าง, โปร่ง.
  20. ปลั่ง : [ปฺลั่ง] ว. ผ่องใส, มีนํ้านวล, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปล่ง เป็น เปล่งปลั่ง.
  21. เปล่ง : [เปฺล่ง] ก. ฉายออก, แผ่ออก, เช่น เปล่งรัศมี, ออกเสียง เช่น เปล่งเสียง. ว. แจ่มใส, สุกใส.
  22. โปล่ง : [โปฺล่ง] (โบ) ก. โล่ง.
  23. บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
  24. ปลัง : [ปฺลัง] น. ชื่อไม้เถาชนิด Basella alba L. ในวงศ์ Basellaceae ใบอวบนํ้า เถาและใบสีเขียวอ่อนหรือแดง มียางเป็นเมือก ผลสุก สีม่วงดํา ยอดและดอกอ่อนกินได้และใช้ทํายาได้, ผักปลัง ก็เรียก, พายัพเรียก ปั๋ง.
  25. ปลิง ๑ : [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัว ยืดหดได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด Hirudo medicinalis, Hirudinaria manillensis; เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับ ตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
  26. ผลง : [ผฺลง] ก. ปลิดปลง, ฆ่าให้ตาย.
  27. ผ่อง ๑ : ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง.
  28. ลักศพ : ก. นําศพไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อปลง.
  29. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  30. อัศจรรย์ : [อัดสะจัน] ว. แปลก, ประหลาด. น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่ บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมี ความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. (ส. อาศฺจรฺย; ป. อจฺฉริย).
  31. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  32. [1-31]

(0.0693 sec)