แป :
น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
แปงวง : [แป-งวง] น. แปซึ่งยื่นออกมารับงวงไอยราของลำยอง.
แปปลายเต้า : น. แปซึ่งอยู่ที่ปลายเต้า มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
แปลาน : น. แปซึ่งอยู่เหนือแปงวงขึ้นไปหรืออยู่ระหว่างแปหัวเสา จนถึงอกไก่ มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้น อยู่กับระบบของโครงสร้างหลังคา.
แปวง : น. แปที่วางอยู่บนจันทันกันสาดหรือจันทันระเบียงของ เรือนไทย โบสถ์ วิหาร หรือวางอยู่บนจันทันสำหรับอาคารที่มี หลังคาทรงปั้นหยา.
แปหัวเสา : น. แปซึ่งพาดบนหัวเสาประธาน มักมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
แปหาญ : น. แปที่รับนาคสะดุ้งที่โบสถ์ วิหาร หรือปราสาท.
แปเหลี่ยม : น. แปซึ่งอยู่ระหว่างอกไก่กับแปงวง หรือระหว่าง แปงวงกับแปหัวเสา มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
เชิงแป : น. แผ่นไม้ที่อยู่ใต้แปหัวเสาตกแต่งให้มีบ่าเพื่อใช้ รองรับกลอน.
บ้านเมืองมีขื่อมีแป : (สํา) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมาย คุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทํากับอ้ายแก่เช่นนี้ได้. (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมือง ไม่มีขื่อ ไม่มีแป.
แบ : ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้. ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้.
พญาแปแล : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง
เครื่องบน : น. ตัวไม้ที่เป็นส่วนของหลังคา เช่น ขื่อ จันทัน แป กลอน.
กลับไปกลับมา : ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
เงินแป : (โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔).
จันทัน : น. ชื่อตัวไม้เครื่องบนแห่งเรือนอยู่ตรงกับขื่อสําหรับรับแปลานหรือ รับระแนง.
ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
นาครวย : [นากรวย] น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจาก อกไก่ถึงแปหาญทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน.
นาคสะดุ้ง : น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึง หางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
ปั้นลม : น. ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและท้ายเรือน กันลมตีเครื่องมุง, ป้านลม ก็ว่า.
ป้านลม : น. ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและ ท้ายเรือนกันลมตีเครื่องมุง, ปั้นลม ก็ว่า.
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
รวย ๓ : น. ตัวไม้ที่ทอดลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว.
เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
แบกะดิน : (ปาก) น. เรียกแผงขายของที่วางสินค้าบนพื้นริมทางเดิน ว่า ร้านแบกะดิน.
จำแบ : น. ชื่อปลาแห้งชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นริ้ว, ตําแบ ก็ว่า. ก. แผ่ออก.
แฉ ๒ : ก. แบ, ตีแผ่, เปิดเผย, เช่น แฉไพ่.
ต้นแบบ : น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่ สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
แบะ : ก. แบออก เช่น แบะหนังสือ, ทําให้อ้า เช่น แบะทุเรียน. ว. อ้า, ที่เปิดกว้างออกไป, เช่น ถูกฟันหัวแบะ; มีลักษณะกางออกหรือ ถ่างออก เช่น ล้อแบะ.
พรายน้ำ : น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือ ที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วย สารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
ฟาก ๑ : น. ลำไม้ไผ่เป็นต้นที่ผ่าแล้วสับให้แตกออกเป็นอันเล็ก ๆ แต่ไม่ขาดจากกัน แล้วแบคว่ำออกเป็นแผ่น โดยมากใช้ปูเป็น พื้นเรือน เรียกว่า ฟากสับ, ส่วนที่ทำเป็นซี่แล้วใช้หวายหรือ เถาวัลย์ถักให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่าฟากซี่ หรือ ซี่ฟาก.
ห้ามญาติ : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม.
ห้ามพระแก่นจันทน์ : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม.
หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.