Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แผลง , then ผลง, แผลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แผลง, 222 found, display 1-50
  1. แผลง : [แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลง พยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คําแผลง.
  2. แผลงฤทธิ์, แผลงฤทธิ์แผลงเดช : (ปาก) ก. อาละวาดด้วยความโกรธ เพราะถูกขัดใจ, ออกฤทธิ์ ก็ว่า.
  3. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  4. ผลง : [ผฺลง] ก. ปลิดปลง, ฆ่าให้ตาย.
  5. ผาดแผลง : [แผฺลง] ก. ยิงไปโดยเร็ว.
  6. นาคราชแผลงฤทธิ์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  7. หุ้มแผลง : [-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือ แผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟัน ประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.
  8. ดำรง : ก. ทรงไว้, ชูไว้, ทําให้คงอยู่, เช่น ดํารงวงศ์ตระกูล. ว. ตรง, เที่ยง. (แผลง มาจากตรง). (ข. ฎํรง่, ตมฺรง่).
  9. บัณฑร, บัณฑร- : [บันทอน, บันทะระ-] ว. ขาวเหลือง. (ป. ปณฺฑุ; ส. ปาณฺฑร). (แผลง มาจาก บัณฑุ).
  10. บ้า ๆ : ว. แผลง ๆ, แตกต่างไปจากปรกติ, เช่น ทําบ้า ๆ เล่นบ้า ๆ.
  11. แปลง ๓ : [แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
  12. เยาว, เยาว์ : [เยาวะ, เยา] ว. อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลง มาจาก ยุว).
  13. กระหนาก : (แผลงมาจาก ขนาก) ดู ขนาก.
  14. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  15. กรรพุม, กรรพุ่ม : [กัน-] (โบ; แผลงมาจาก กระพุ่ม) น. มือที่ประนม เช่น ถวายกรกรรพุม. (ม. คําหลวง ทศพร); พุ่ม เช่น กรรพุมมาลย์ = พุ่มดอกไม้.
  16. กรรลี : [กัน-] น. โทษ. (ส. กลี แผลงเป็น กระลี และแผลง กระลี เป็น กรรลี).
  17. กรรลึง : [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระลึง) ก. จับ.
  18. กรรแสง ๑ : [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).
  19. กรรเอา : [กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).
  20. กระจร ๑ : (กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
  21. กระจร ๒ : (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
  22. กระจัด ๑ : ก. ขับไล่; แยกย้ายออกไป เช่น ลูกหลานกระจัดพลัดพราย. (คาวี). (แผลงมาจาก ขจัด).
  23. กระจัดกระจาย : ว. เรี่ยรายไป, แตกฉานซ่านเซ็นไป, ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน. (แผลงมาจาก ขจัดขจาย).
  24. กระจาย : ก. ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือ แตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้ เข้าคู่กับคํา กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).
  25. กระฎี : น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (แผลงมาจาก กุฎี).
  26. กระนก : [-หฺนก] (โบ; แผลงมาจาก กนก) น. ทองคํา. (ไตรภูมิ). (ดู กนก).
  27. กระบวร : [-บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).
  28. กระบาล : [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
  29. กระบิล : น. ระเบียบ, หมู่. (แผลงมาจาก กบิล).
  30. กระบูร : [-บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).
  31. กระมล : [-มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ.
  32. กระมุท : น. บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท).
  33. กระลด : [-หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ).
  34. กระลบ : [-หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  35. กระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  36. กระลัด : [-หฺลัด] (กลอน; แผลงมาจาก กลัด) ว. เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. (สมุทรโฆษ).
  37. กระลับ : [-หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์).
  38. กระลัมพร : น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.
  39. กระลา ๒ : น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).
  40. กระลายกระลอก : [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
  41. กระเลียด : [-เหฺลียด] (กลอน) แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและ กระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. (สรรพสิทธิ์).
  42. กระเลือก : [-เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก.
  43. กระวัด : [-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์).
  44. กระวิน ๒ : (โบ) ว. สีน้ำตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล).
  45. กระวี ๑ : น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระ พินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์ อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).
  46. กระษิร : [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
  47. กระเษียร : (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. น้ำนม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์).
  48. กระหนาบ : ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจากขนาบ).
  49. กระหมวด ๑ : ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).
  50. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-222

(0.0721 sec)