แผ่นดิน : น. พื้นดินของโลก; รัฐ, ประเทศ, เช่น แผ่นดินไทย; รัชกาล เช่น ผลัดแผ่นดิน.
เลือดทาแผ่นดิน : ก. สละชีวิตให้แก่ประเทศชาติ, สละชีวิตเพื่อรักษา แผ่นดิน.
ธรณิน : [ทอระ] (กลอน) น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ).
ธริษตรี, ธเรษตรี : [ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทา ธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
ภพ : [พบ] น. โลก, แผ่นดิน; วัฏสงสาร. (ป. ภว).
ภู ๑ : น. ดิน, แผ่นดิน, โลก. (ป., ส.).
เปลี่ยนแผ่นดิน : ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดิน องค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, ผลัดแผ่นดิน ก็ว่า.
ผลัดแผ่นดิน : ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดิน องค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, เปลี่ยนแผ่นดิน ก็ว่า.
พลิกแผ่นดิน : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการ ปกครองแผ่นดิน. ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจน พลิกแผ่นดิน.
ทนายแผ่นดิน : (กฎ) ดู อัยการ.
ทรัพย์สินของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของรัฐ.
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินใน พระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง.
แทรกแผ่นดิน : (สํา) ก. หลีกหนีไปให้พ้น ไม่อยากให้ใครพบหน้า เพราะอับอาย.
หนักแผ่นดิน : (สํา) ว. ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมือง ของตน, เสนียดสังคม.
ดิน ๑ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, วัตถุธาตุของพื้นโลก ที่ใช้สําหรับปลูกพืชผลหรือปั้นสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น; แผ่นดิน เช่น เทวดาเดินดิน.
ชค : [ชะคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัย แผ่นดิน. (ป., ส.).
ชคดี : [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).
ชัค : [ชักคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
ธรณี : [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก เช่น นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.).
เลขาธิการ : น. ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารระดับสูงตําแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการ รัฐสภา เลขาธิการสมาคม. (ส. เลขาธิการี ว่า เสมียนของพระเจ้า แผ่นดิน).
แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษมา ๒ : [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษิดิ, กษีดิ : [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
ฉมา : [ฉะมา] น. แผ่นดิน. (ป.; ส. กฺษมา).
ถัณฑิล, ถัณฑิลญ : [ถันทิน, ถันทินละ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป.).
ธรา : [ทะรา] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
บรรพตกีลา : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
บาทบริจาริกา : [บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้า แผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปาริจาริกา).
ปฐพี : [ปะถะ-, ปัดถะ-] น. แผ่นดิน. (ป. ป?วี).
ปฐวี : [ปะถะวี] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป.).
ปถพี : [ปะถะ-] น. แผ่นดิน. (ส. ปฺฤถวี; ป. ป?วี).
ไผท : [ผะไท] น. แผ่นดิน. (ข. ไผฺท).
พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
พสุธา : น. ''ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์'' คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
พสุนธรา : [พะสุนทะ] น. แผ่นดิน. (ป. วสุนฺธรา; ส. วสุํธรา).
พสุมดี : [พะสุมะดี] น. แผ่นดิน. (ส.).
ภูดล : น. พื้นโลก, แผ่นดิน. (ส.).
ภูริ ๒ : น. แผ่นดิน. (ป.).
ภูว : [พูวะ] น. แผ่นดิน. (ส. ภุว).
ภูวน : [วะนะ] น. โลก, แผ่นดิน. (ส., ป. ภุวน).
มหิ : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
เมทนี, เมทินี : [เมทะ-] น. แผ่นดิน. (ป. เมทนี, เมทินี; ส. เมทินี).
โลกธาตุ : [โลกกะ] น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
วสุมดี : [สุมะ] น. โลก, แผ่นดิน. (ป., ส. วสุมตี).
หล้า : น. โลก, แผ่นดิน.
อจลา : [อะจะ] น. แผ่นดิน. (ส.).
ธาตรี : [ทาตฺรี] (แบบ) น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี. (ส.).
ธาษตรี : [ทาดตฺรี] (กลอน) น. แผ่นดิน, โลก. (ส. ธาตฺรี).