แพร่ : ก. กระจายออกไป, แผ่ออกไป, เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค.
พันธุ, พันธุ์ : น. พวกพ้อง, เชื้อสาย, วงศ์วาน; เทือกเถา, เหล่ากอ; เชื้อ เช่น ข้าว เก็บไว้ทำพันธุ์ พันธุ์ข้าว. (ป., ส.).
เจริญพันธุ์ : ว. มีความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์.
แพร่สะพัด : ก. กระจายไปทั่ว เช่น ข่าวแพร่สะพัดไปโดยเร็ว.
แพร่หลาย : ก. กระจายออกไปให้มาก, ทั่วถึง, เช่น รู้กันแพร่หลาย ใช้กันแพร่หลาย.
แพร่ข่าว : ก. กระจายข่าวออกไป.
ขจรจบ : [ขะจอน-] น. ชื่อหญ้าชนิด Pennisetum pedicellatum Trin. และ P. polystachyon (L.) Schult. ในวงศ์ Gramineae แพร่พันธุ์รวดเร็วมาก และปราบยาก หญ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ ต้นแก่ ใช้ทํากระดาษได้.
ปฏิชีวนะ : [-ชีวะนะ] น. เรียกยาประเภทที่มีสารที่สกัดจากผลผลิตของเชื้อ จุลินทรีย์ ใช้ฆ่าหรือยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรีย ว่า ยาปฏิชีวนะ. (อ. antibiotics).
ผกากรอง : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลําต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link. ลําต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ; ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลําต้นกลม ดอกสีม่วง.
ประสมพันธุ์ : ก. ผสมพันธุ์.
ผสมพันธุ์ : ก. สืบพันธุ์, คัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพมาผสมกัน, ประสมพันธุ์ ก็ว่า.
เผยแพร่ : ก. โฆษณาให้แพร่หลาย เช่น เผยแพร่ความรู้.
พ่อพันธุ์ : น. สัตว์ตัวผู้ที่ใช้ผสมพันธุ์.
พร : [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
เผ่าพันธุ์ : น. เชื้อสาย.
พงศ์พันธุ์ : น. พวกพ้องที่เนื่องมาแต่วงศ์. (ส.).
พรหมพันธุ์ : น. ''วงศ์พรหม'' คือพราหมณ์โดยตระกูล คือ พราหมณ์ เลว. (ส.).
เป๋าฮื้อ ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus abalonus Han ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มโคนก้านดอกติดกัน ดอกเห็ดเนื้อหนา มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์สีเทาดํา และ พันธุ์สีนํ้าตาลอ่อน กินได้.
รัก ๑ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Calotropis gigantea (L.) Aiton f. ในวงศ์ Asclepiadaceae ดอกใช้ร้อยกรอง มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกลา และ พันธุ์ดอกซ้อน ยางเป็นพิษ. (เทียบ ส. อรฺก; ป. อกฺก). (๒) ชื่อไม้ต้น ชนิด Gluta usitata (Wallich) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยาง เป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก. (เทียบ ส. ลากฺษ).
กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
ไน ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลา อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
กบ ๕ : น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่า ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
กระจาย : ก. ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือ แตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้ เข้าคู่กับคํา กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).
กระจายเสียง : ก. ส่งเสียงแพร่ไกลออกไป.
กระฉ่อน : ว. อื้อฉาว, แพร่สนั่นไป, อึงไปทั่ว.
กระดังงา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga odorata (Lam.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอม กลีบบาง มี ๖ กลีบ ดอกใช้กลั่น น้ำมันหอมได้, กระดังงาใหญ่ สะบันงา หรือ สะบันงาต้น ก็เรียก. (เทียบมลายู canaga, kananga); พรรณไม้ชนิดนี้มีพันธุ์หนึ่งเป็น ไม้พุ่ม ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ หอมอ่อน เรียกว่า กระดังงาสงขลา [Cananga odorata Hook.f. et Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair].
กระพือ : ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
กรัน ๒ : [กฺรัน] น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa sapientum L. ผลสั้นป้อม มีเมล็ดมาก, กล้วยเต่า ก็เรียก.
กล้วย ๑ : [กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จําพวก จําพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก,จําพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.
กล้าย : [กฺล้าย] น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยม และยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้ สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก.
กวางป่า : น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กษัยการ : [กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัด หรือกระจัดกระจายไปเพราะพลังลมพลังน้ำ หรือปฏิกิริยาเคมี. (อ. erosion).
กะเทยนางหมั่น : น. ชื่อลิ้นจี่พันธุ์หนึ่งที่เคยปลูกในกรุงเทพมหานคร.
กะแท้ : น. ชื่อแมลงพวกมวนขนาดเล็ก ตัวยาว ๘-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายโล่ สีน้ำตาลแก่อมดําหรือสีเกือบดํา เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่น อุจจาระของคน มีหลายชนิด ที่พบกันแพร่หลาย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus ในวงศ์ Podopidae.
กะเพรา : [-เพฺรา] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียว อมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กอมก้อ.
กะหลาป๋า ๒ : น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Syzygium samalangense (Blume) Merr. et L.M. Perry ผลสีเขียว รสหวาน เรียกว่า ชมพู่กะหลาป๋า เป็นพรรณไม้ชวา.
กะหล่ำ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. ในวงศ์ Cruciferae มีหลายพันธุ์ เช่น กะหล่าปลี หรือ กะหล่าใบ (B. oleracea L. var. capitata L.) กะหล่าดอก หรือ กะหล่าต้น (B. oleracea L. var. botrytis L.) กะหล่าดาว หรือ กะหล่าหัวลําต้น [B. oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell.] และ กะหล่าปม (B. oleracea L. var. gongylodes L.).
กะหำแพะ : น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด Solanum melongena L.
กัญญา ๓ : [กันยา] น. เรียกข้าวเหนียวดําพันธุ์หนึ่งที่เมล็ดดําเป็นมันว่า ข้าวกัญญา.
ก๊าซน้ำตา, แก๊สน้ำตา : น. สารที่อยู่ในสภาพที่แพร่กระจายเป็นไอ หรือควันทําให้ระคายเคืองนัยน์ตาอย่างรุนแรง น้ำตาไหล และมองไม่เห็นชั่วขณะหนึ่ง. (อ. tear gas).
ก้านยาว : น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง; (ปาก) ผู้ที่มีรูปร่างผอมสูงกว่าปรกติ.
กาวาง : น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยวจัด.
กำปั่น ๓ : น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.
กำพืด : น. เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, (มักใช้เป็นทํานองหยาม) เช่น รู้กําพืด.
กำมะหยี่ ๒ : น. ชื่อดาวเรืองพันธุ์หนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
กำยาน ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบนสีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้ บางชนิดเมื่อเปลือกถูกกรีด หรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับ ลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า กำยาน. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม เรียกว่า กล้วยกํายาน. (พจน. ๒๔๙๓).
กินดิบ ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง.
กุ ๒ : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง, กล้วยสั้น ก็เรียก.