Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แม้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แม้, 52 found, display 1-50
  1. แม้ : สัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คําสนับสนุนข้ออ้าง ให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.
  2. แม้วะ : สัน. แม้ว่า.
  3. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  4. เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  5. ถ้า : สัน. คําแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก. ถ้าว่า, ถ้าหากว่า สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า.
  6. หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
  7. ฉวย : ก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้.
  8. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  9. มโภคกาย : [สําโพกคะ] น. พระกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมี รุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป และจะปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ แม้ จนบัดนี้. (ส.).
  10. แม้น ๑ : สัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า. (สังข์ทอง).
  11. กดเหลือง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
  12. กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
  13. กปณา : [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ)
  14. กำแพงเจ็ดชั้น ๑ : น. ชื่อมนตร์. กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา) น. การที่จะพูด หรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
  15. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง : (สํา) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่ คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
  16. ขายผ้าเอาหน้ารอด : (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง ของตนไว้.
  17. เข้าด้ายเข้าเข็ม : (สํา) ว. จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมา ขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ.
  18. ครุกาบัติ : [คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุ ต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวช ใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
  19. คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก : (สำ) น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้.
  20. จวด : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้าง มีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัดมน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประ บนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทําเสียงได้.
  21. จิตไร้สำนึก : น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. (อ. un-conscious).
  22. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  23. ซอกแซก : ก. ดั้นด้นไปทุกซอกทุกมุมทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะไป เช่น ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามแม้ในเรื่องที่ไม่น่าถาม เช่น ซอกแซกถาม. ว. ทุกแง่ทุกมุม เช่น ถามซอกแซก, เสาะหาสรรหา มากิน เช่น กินซอกแซก, เป็นซอกเป็นตรอกมาก เช่น ทางซอกแซก.
  24. ตระกูลมูลชาติ : [-มูนชาด] (สํา) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
  25. ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
  26. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก : (สํา) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.
  27. ปาราชิก : น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
  28. ผู้สนับสนุน : (กฎ) น. ผู้กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะ กระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือ ให้ความสะดวกนั้นก็ตาม.
  29. ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
  30. แฝด ๑ : ว. เป็นคู่ (ใช้เรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้กัน) เช่น มีลูกแฝด, โดยอนุโลมเรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่ คนเดียวกันแม้เกินกว่า ๒ คนก็ได้ เช่น แฝด ๓ แฝด ๖, ติดกันเป็นคู่ เช่น มะม่วงแฝด ผลไม้แฝด.
  31. พรายกระซิบ : น. ผีพรายที่มากระซิบบอกให้ผู้ที่เลี้ยงตนรู้เหตุการณ์ ต่าง ๆ ได้แม้เกิดในที่ห่างไกล.
  32. ภูตคาม : [พูตะ–] น. พืชพันธุ์อันอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ พืชที่เกิดจากเหง้า ๑ ที่เกิดจากต้น ๑ ที่เกิดจากข้อ ๑ ที่เกิดจากยอด ๑ และที่เกิดจากเมล็ด ๑, คู่ กับ พืชคาม คือ พืชพันธุ์ที่แม้จะถูกพรากจากที่แล้ว ก็ยังจะเป็นได้อีก. (ป.; ส. ภูตคฺราม ว่า สิ่งทั้งปวง, สิ่งที่เกิดแล้วทั้งปวง).
  33. มิไย : สัน. ถึงแม้, ถึงแม้ว่า, เช่น มิไยจะด่า หมายความว่า ถึงแม้จะด่า.
  34. โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
  35. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  36. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  37. ยองใย : น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวล เป็นยองใย; ใช้เป็นคําเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มี ความผิดแม้เท่ายองใย.
  38. เยื่อใย : น. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย.
  39. รู้จัก : ก. เคยพบเคยเห็นและจําได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว; คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จัก กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า; รู้ เช่น รู้จักคิด รู้จักทำ.
  40. เล็ดลอด : ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยาก ลําบาก แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มด เล็ดลอดเข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
  41. เลี้ยงไม่เชื่อง : ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอา มาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
  42. เลี้ยงไม่โต : ก. ได้รับบาดเจ็บถึงพิการ แม้จะไม่ตายแต่ก็รักษาให้หาย เป็นปรกติไม่ได้.
  43. ไว้ตัว : ก. สงวนฐานะและเกียรติยศของตนให้เหมาะให้ควร เช่น แม้จะยากจนลงก็ต้องไว้ตัวอยู่ เป็นสตรีควรไว้ตัว, ถือตัว เช่น ไว้ตัว ว่าเป็นลูกเศรษฐี ไม่คบคนทั่วไป.
  44. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  45. สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
  46. สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
  47. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  48. หัวเด็ดตีนขาด : (สำ) คำพูดแสดงการยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะตายก็ไม่ ยอมเปลี่ยนใจ เช่น หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมย้าย หัวเด็ดตีนขาดก็จะอยู่ที่นี่.
  49. หือรือโหด : (กลอน) ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติ ทาสเมถุน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  50. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  51. [1-50] | 51-52

(0.0152 sec)