Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แร่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แร่, 61 found, display 1-50
  1. แร่ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  2. แร่ : ก. รี่เข้าใส่, กรากเข้าใส่, เช่น หมาแร่เข้าใส่. ว. อาการที่รี่เข้าใส่, อาการ ที่กรากเข้าใส่, เช่น วิ่งแร่มาแต่ไกล.
  3. กระแด้แร่ : ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทําดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย. (มณีพิชัย).
  4. ทะร่อทะแร่ : (ปาก) ก. เข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่ไม่มีหน้าที่, ทะร่อท่อแร่ ก็ว่า.
  5. เล่นแร่แปรธาตุ : ก. พยายามทําโลหะที่มีค่าตํ่าเช่นตะกั่วให้กลายเป็น ทองคําตามความเชื่อแต่โบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สับเปลี่ยน ของที่มีราคาให้เป็นของที่มีราคาต่ำกว่า.
  6. บรรพตธาตุ : (แบบ) น. แร่. (ส. ปรฺวต + ธาตุ).
  7. กระสะ : น. ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้าแก่ผู้ทําแร่, ขี้ผงของแร่.
  8. กลีบหิน : น. แร่ไมกา. (ดู ไมกา).
  9. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  10. กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
  11. กาฝาก : น. ชื่อพืชเบียนหลายชนิดในหลายวงศ์ที่อาศัยเกาะดูดน้ำและแร่ธาตุ หรือสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วจากพรรณไม้อื่น ส่วนใหญ่มักใช้เรียก ไม้พุ่มที่อาศัยเกาะเบียนไม้ต้นชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ Loranthaceae, Santalaceae และ Viscaceae.
  12. กาสา : น. แร่ชนิดหนึ่งมีสีเขียว.
  13. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  14. แก้วแกลบ : [-แกฺลบ] น. ตะกรันเกิดจากเถ้าแกลบที่แข็ง มีสีขาว; ชื่อแร่หินชนิดหนึ่ง.
  15. เขี้ยวหนุมาน : น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอด แหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาว ขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
  16. ไข ๑ : น. มันข้น, นํ้ามันที่ได้จากสัตว์ พืช หรือแร่ ที่แข็งตัวในอุณหภูมิปรกติ; น้ำมันที่มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องจากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ. (อ. wax).
  17. ไข้ป่า : น. ไข้ที่รับจากป่าหรือดงดิบ เกิดเพราะถูกอายพิษดิน พิษแร่ หรือ ว่านยาหรือเชื้อไข้มาลาเรีย. (อ. jungle fever).
  18. ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
  19. จันทรกานต์ : น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้า เหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
  20. ชอล์ก ๑ : น. ชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต มีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อยเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการ รวมตัวของหินปูนจากซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยใน ทะเล, หินดินสอพอง ก็เรียก. (อ. chalk).
  21. ซัดยา : ก. ใส่ยาลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ.
  22. ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
  23. ตรีโลหก : [-หก] น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลหก).
  24. ตรีโลหะ : น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองแดง ทองเหลือง ทองหล่อระฆัง, หรืออีกตําราหนึ่ง ว่า ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลห).
  25. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  26. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  27. ถ่านโค้ก : น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐–๙๐ ใช้ประโยชน์ ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
  28. ทรัพยากรธรณี : น. ทรัพย์อันอยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ นํ้ามัน.
  29. ทรายแก้ว : น. แร่ควอตซ์ที่มีขนาดเล็กเท่าเม็ดทราย มีลักษณะเป็น สีขาวใสใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้ว.
  30. นวโลหะ : น. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคํา ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคําตัดมาจาก ''เจ้านํ้าเงินว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตําราสร้าง พระพุทธรูป).
  31. น้ำมัน : น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์ แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดย ปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
  32. บริสุทธิ์ : [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์. น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
  33. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  34. เบญจโลห : ะ น. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมา จาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และ สังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้าง พระพุทธรูป).
  35. เบญจโลหกะ : น. แร่ทั้ง ๕ คือ ทองคํา เงิน ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก.
  36. ประทานบัตร : [ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญ ที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทําเหมืองแร่ภายในเขต ที่กําหนดในหนังสือสําคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดออก ให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทําการประมงในที่ว่าประมูล.
  37. เปลือกโลก : น. ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งหุ้มห่ออยู่ รอบนอกสุด ประกอบด้วย หิน ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ.
  38. พิษ, พิษ : [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
  39. ฟันม้า : น. ชื่อแร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีหลายสี ส่วนมากมักมี สีขาวขุ่นคล้ายฟันม้า ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า หินฟันม้า. (ดู เฟลด์สปาร์).
  40. เฟลด์สปาร์ : น. ชื่อแร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีหลายสี ส่วนมากมักมีสีขาว ขุ่นคล้ายฟันม้า, ชาวบ้านมักเรียกกันว่า หินฟันม้า. (อ. feldspar).
  41. เภสัชเวท : [เพสัดชะเวด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุโดยตรง หรือสารที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น, วิทยาศาสตร์ แขนงที่ว่าด้วยสมุนไพร.
  42. โภชนาหาร : [โพชะนา–, โพดชะนา–] น. สารองค์ประกอบสําคัญของ อาหารที่ทําให้อาหารมีคุณค่าในการบํารุงเลี้ยงร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน และนํ้า.
  43. เมฆพัด : [เมกคะ-] น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย กํามะถัน มีสีดําเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ชนิดนี้ว่าพระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด.
  44. แม่เหล็ก : น. แร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดเหล็กได้.
  45. ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
  46. ยาซัด : น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
  47. ยาสมุนไพร : (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
  48. ยิปซัม : น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4?2H2O เมื่อนํามาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐?๑๓๐?ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. (อ. gypsum).
  49. ใยหิน : น. แร่ประเภทซิลิเกต โดยมากเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียม ซิลิเกต ลักษณะเป็นเส้นใย ทนไฟ ใช้ประโยชน์นําไปทําวัสดุทนไฟ และฉนวนความร้อน.
  50. รสายนเวท : [ระสายะนะเวด] น. วิชาประสมแร่แปรธาตุ, วิชาเคมียุคเล่นแร่แปรธาตุ. (ส.).
  51. [1-50] | 51-61

(0.0214 sec)