แล่ง ๑ : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน.
แล่ง ๓ : ก. ผ่า, ทำให้แตก, เช่น แล่งมะพร้าว; รีดเป็นเส้นบาง ๆ เช่น
แล่ง ๒ : น. รังกระสุน, ที่เก็บลูกกระสุนดินดำหรือลูกศร.
แล่งเงิน แล่งทอง. : ว. เรียกเงินหรือทองที่รีดเป็นเส้นบาง ๆ ว่า เงินแล่ง ทองแล่ง.
แล่งพระราม : ดู เขนงนายพราน.
เงินแล่ง : น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
ตะพายแล่ง : ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดตะพายแล่ง, สะพายแล่ง ก็ว่า.
ทองแล่ง : น. ทองคําที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สําหรับปัก หรือทอผ้า.
สะพายแล่ง : ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดสะพายแล่ง, ตะพายแล่ง ก็ว่า.
ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
จังออน : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.
ปัตถะ : [ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).
ขทิง ๑ : [ขะ-] (โบ) น. กระดิ่ง, กระดึง, เช่น ขทิงทอง รนนทดโยง ลยวแล่ง. (กําสรวล).
เขนงนายพราน : [ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลาย ใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก.
เข้มขาบ : น. ผ้าที่ทอควบกับทองแล่งเป็นริ้ว ๆ ตามยาว. (อิหร่าน).
ทับทรวง : น. เครื่องประดับชนิดหนึ่งเรียกว่า ตาบ รูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาล สะพายแล่งทับ หน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก. (รูปภาพ ทับทรวง)
บัดแมล่ง : [-มะแล่ง] น. เวลาบ่ายเย็น.
ปัตหล่า : [ปัดตะหฺล่า] น. ผ้าริ้วทอด้วยไหมกับทองแล่งมีเนื้อบาง โดยมาก ทําเป็นเสื้อครุย.
ผ้าแฝง : น. ผ้าคาดเอว ปักด้วยดิ้นเงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลาย ต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สมรด หรือ สํารด ก็เรียก.
พรหมสูตร : น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของ, พราหมณ์ สายธุรําของพราหมณ์. (ส.).
พัดพุดตาน : น. พัดยศของพระครู สัญญาบัตรหรือพระครูฐานานุกรม บางชั้น มีลักษณะกลม แต่มีแฉกโดยรอบ พื้นทำด้วยกำมะหยี่ สักหลาด แพร หรือเยียรบับ ปักทองแล่งดิ้นมัน ดิ้นเลื่อม หรือดิ้น ธรรมดา มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์.
พาณโยชน์ : น. แล่งธนู. (ส. วาณโยชน).
เยียรบับ : [ระบับ] น. ผ้าซึ่งทอด้วยทองแล่งกับไหมแต่มีไหมน้อยกว่า, ส้ารบับ ก็ว่า.
สมรด : น. เครื่องตกแต่งขอบต้นแขน และปลายแขนเสื้อครุย ปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ; ผ้าคาดเอวปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สํารด หรือ ผ้าแฝง ก็เรียก.
ไหมทอง : น. เส้นไหมที่ควบด้วยทองแล่งหรือกระดาษทอง.
อัตลัด : [อัดตะหฺลัด] น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือ ทองแล่ง แต่ไหมมีจํานวนมากกว่า.
ลงสมุก : [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่น เป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว ให้แน่นและเรียบ.
ลงกระหม่อม : ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยง คงกระพันเป็นต้น.
ลงโกศ : ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า.
ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
ลงคะแนน : ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
ลงจอบ : ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
ลงดาบ : ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ.
ลงถม : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
ลงถมยาสี : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย ในเครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสี ต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
ลงทะเบียน : ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อ รายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อ แสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
ลงนะหน้าทอง : ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและ ปิดทองแล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้ เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
ลงโบสถ์ : ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.
ลงพระบังคน : (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก.
ลงมติ : ก. ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
ลงศอก : ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอก ยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
ลงสนาม : ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
ลงหัว : ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ ในความปฏิเสธ เช่นไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
ลงอุโบสถ : ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
ลงเข็ม : ก. ตอกเสาเข็มเพื่อฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, ตอกเข็ม ก็ว่า.
ลงความเห็น : ก. มีความเห็นร่วมกัน.
ลงทัณฑ์ : (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.
ลงนาม : ก. ลงชื่อ.
ลงเนื้อเห็นด้วย : ก. เห็นพ้องด้วย.