แว้ : เสียงลูกร้องแว้, อุแว้ ก็ว่า.
แว้ด : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ตวาดแว้ด. (ปาก) ก. ขึ้นเสียง เช่น พูดด้วยดี ๆ กลับมาแว้ดใส่อีก.
กระแตแต้แว้ด ๑ : ดู ต้อยตีวิด.
กระแตแต้แว้ด ๒ : น. ใช้เปรียบผู้หญิงที่ชอบจุ้นจ้านเจ้ากี้เจ้าการ.
อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
แพ้ ๑ : ก. สู้ไม่ได้, ทนไม่ได้, ตรงกันข้ามกับ ชนะ, ผู้ที่มีเลือดเนื้อไม่ถูกกับ สิ่งของหรือสัตว์บางอย่างก็เรียกว่า แพ้ เช่น แพ้ยา แพ้ตะขาบ.
ต้อยตีวิด : น. ชื่อนกชนิด Vanellus indicus ในวงศ์ Charadriidae ตัวขนาดนก เขาใหญ่ หัวสีดําขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดทางด้านหน้าจากขอบ ตาหนึ่งไปอีกขอบตาหนึ่ง ปากยาว ขายาวสีเหลือง ตีนมี ๔ นิ้ว นิ้วหลังเป็นติ่ง เล็ก ร้องเสียงแหลม ''แตแต้แว้ด'' กินสัตว์ขนาดเล็ก วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน, กระต้อยตีวิด กระแตแต้แว้ด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก.
แพ้ ๒ : (ไทยเดิม) ก. ชนะ เช่น อนนเรืองใสงามหนักหนา แพ้พระอาทิตย์. (จารึกสยาม).
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร : (สํา) น. การยอมแพ้ทําให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ทําให้เรื่องไม่สงบ.
แพ้ท้อง : ว. อาการของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อแรกตั้งครรภ์ มี อาการคลื่นเหียนอาเจียนเป็นต้น.
แพ้เปรียบ : ว. ไม่เสมอกัน, เสียเปรียบ.
แพ้ภัยตัว : ก. เป็นภัยแก่ตัวเอง, เดือดร้อนตัวเอง, ให้มีอันเป็นไป เพราะดูถูกดูหมิ่นผู้ใหญ่เป็นต้น.
แพ้เมีย : ว. มีเมียกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
กระแพ้ง : น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า.
ก๊าน : (ถิ่น-พายัพ) ก. ค้าน, แพ้, สู้ไม่ได้, เช่น ก๊านพ่ายหนี.
กำแพ้ง : น. เรียกไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็นว่า กําแพ้ง, กระแพ้ง ก็ว่า.
ขี้แพ้ชวนตี : (สํา) ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะ ด้วยกําลัง, แพ้แล้วพาล.
น้ำน้อยแพ้ไฟ : (สํา) น. ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก.
สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
จน ๑ : ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
ปราชิต : [ปะราชิด] ก. แพ้. (ป.).
พ่าย : ก. หนีไป, แพ้.
อปราชัย, อัปราชัย : [อะปะ, อับปะ] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้ หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
กลี : [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).
กินตัว : ก. ผุหรือขาดกร่อนไปเองอย่างผ้าขนสัตว์; ริบสิ่งที่นํามาพนันขันต่อกันจากผู้แพ้.
เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
ขันต่อ : ก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัย เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.
ขับเคี่ยว : ก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะ ไปข้างหนึ่ง.
ขี่ม้าส่งเมือง : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ฝ่ายแพ้ต้องให้ฝ่ายชนะ ขี่หลังไปส่งถึงที่ฝ่ายชนะ.
คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
คู่รักคู่แค้น : น. ผู้ที่เป็นคู่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาโดยต่างผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ.
จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
จอด : ก. หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).
จำนน : ก. แพ้, ไม่มีทางสู้. (แผลงมาจาก จน).
ชนะ ๑ : [ชะ] ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้.
ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
ชักสองแถว : ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดํา ขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว).
ชำนะ : ก. ชนะ, ทําให้เขาพ่ายแพ้. (แผลงมาจาก ชนะ).
ชี้ตาไม่กระพริบ : (สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิ ยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ดันทุรัง : ว. ดื้อดึงไม่ยอมแพ้, ดื้อดึงไม่เข้าเรื่อง, ดัน ก็ว่า.
เดิมพัน : น. จํานวนเงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่วางไว้เป็นประกันในการ ได้เสียหรือแพ้ชนะก่อนเล่นการพนัน เช่น วางเดิมพัน เอาชีวิตเป็นเดิมพัน.
ตก :
ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
ตกม้าตาย : (สำ) ว. แพ้เร็ว, ยุติเร็ว, เรียกเต็มว่า สามเพลงตกม้าตาย.
ถอดสี : ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัด ตัวที่แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.
โทหฬะ : [-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).
โทหฬินี : [โทหะ-] (แบบ) น. หญิงมีครรภ์, หญิงแพ้ท้อง. (ป.; ส. เทาหฺฤทินี).