Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แสดงละคร, แสดง, ละคร , then ละคร, สดง, แสดง, แสดงละคร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แสดงละคร, 926 found, display 1-50
  1. ละคร : [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  2. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  3. ละครแก้บน : น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.
  4. ละครโทรทัศน์ : น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉาก ให้เหมือนจริง.
  5. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  6. ละครใน : น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
  7. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  8. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  9. ละครรำ : น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรี ปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  10. ละครเร่ : น. ละครที่ออกไปแสดงตามที่ต่าง ๆ ไม่ได้แสดงประจำถิ่น.
  11. ละครลิง : น. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของ ผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
  12. ละครวิทยุ : น. ละครพูดที่แสดงทางวิทยุ มักมีเพลงประกอบ.
  13. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  14. ลงโรง : ก. เริ่มการแสดงมหรสพเช่นโขน ละคร ลิเก; เข้าสู่ โรงพิธีซัดนํ้า.
  15. ลาโรง : ก. เลิกการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเกครั้งหนึ่ง ๆ, (ปาก) เลิกกิจการหรืองานที่เคยทํามา เช่น เขาลาโรงจากการเมืองแล้ว.
  16. ออกงาน : ก. ไปปรากฏตัวในงานสังคม; (โบ) แสดงแก่ประชาชน หรือสังคมครั้งแรก (ใช้แก่วงมหรสพ โขน ละคร สตรีสาว).
  17. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  18. ละครชวนหัว : น. ละครพูดประเภทขำขัน.
  19. ละครชาตรี : น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  20. ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  21. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  22. ละครพูดสลับลำ : น. ละครสังคีต.
  23. ละครย่อย : น. ละครชวนหัวเรื่องสั้น ๆ.
  24. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  25. ละครเล็ก : น. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็ก เรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  26. ละครสัตว์ : น. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการ แสดงของคณะกายกรรมประกอบด้วย.
  27. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  28. เข้าโรง : ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว.
  29. คู่พระคู่นาง : น. ผู้แสดงเป็นตัวพระเอกและนางเอกในละคร ลิเก เป็นต้น.
  30. เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
  31. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  32. นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
  33. นางรอง : น. ตัวรองฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  34. นางเอก : น. ตัวเอกฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  35. นาฏ, นาฏ : [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.). นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งานเกี่ยวกับ การรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และ หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  36. นาฏย : [นาดตะยะ] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
  37. นำแสดง : ก. แสดงบทบาทสําคัญในภาพยนตร์หรือละคร, มีบทบาท นําในการแสดงภาพยนตร์หรือละคร.
  38. บังใบ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการ แสดงโขนและละคร.
  39. ปฐมทัศน์ : [ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละคร หรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
  40. ปล่อยตัว : ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ก็ว่า; ให้ตัวละครออกแสดงตามวาระ.
  41. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  42. เปิดฉาก : ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้นแสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
  43. ผู้ร้าย : น. โจร, อาชญากร; ตัวโกงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์ เป็นต้น.
  44. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  45. พระรอง : น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  46. พระเอก : น. ตัวเอกฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  47. พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
  48. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  49. ภรต, ภรต– : [พะรด, พะระตะ–, พะรดตะ–] น. ผู้เต้นรํา, ผู้แสดงละคร. (ส.).
  50. ภารต, ภารต– : [พารด, พาระตะ–] น. ชาวอินเดีย; คนแสดงละคร. (ส.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-926

(0.1936 sec)