ฝนแสนห่า ๑ : น. วิธีเขียนหนังสืออย่างหนึ่งใช้ตัวเลขแทนตัวหนังสือ; ชื่อดอกไม้ไฟ ชนิดหนึ่งมีประกายไฟพุ่งออกมาคล้ายไฟพะเนียง แต่หมุนรอบตัว. (รูปภาพ ฝนแสนห่า)
เหลือแสน : ว. มากยิ่ง เช่น ร้ายเหลือแสน, มั่งมีเหลือแสน.
นานแสนนาน : ว. นานเหลือเกิน.
ฝนแสนห่า ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Argyreia capitiformis
ล้าน ๑ : น. จํานวน ๑๐ แสน.
กบเต้นต่อยหอย : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้น ยิ่งศรเสียบทรวงหมอง.
กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
ก้านต่อดอก : น. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พร่ากําสรวลครวญ.
กำไร : น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบําเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกําไรแสนมหากัป.
กำสรด : [-สด] (แบบ) ก. สลด, แห้ง, เศร้า, เช่น จักคอยเห็นข้าโหยหา แต่องคเอกา จะแสนกำสรดลำเค็ญ. (สุธนู).
กุมารา : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
เกาทุมพร : [-ทุมพอน] น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกทุมฺพร, โกฏุมฺพร).
เข็ญ : [เข็น] ว. ยาก, ยากจน, เช่น ลําบากแสนเข็ญ.
จ้น : ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน).
เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
ฉกรรจ์ลำเครื่อง : (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะ เข้ารบได้ทันทีเช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
ดักดน : (กลอน) ว. ลําบาก, ตรากตรําอยู่นาน, เช่น แสนสะดุ้งดักดน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
แด่น ๒ : ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน. (ม. คําหลวง มหาราช). (เทียบอะหม ดัน ว่าถึง).
ตกนรกทั้งเป็น : (สํา) ก. ได้รับความลําบากแสนสาหัส เช่นคนที่ ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจํา.
ตระกูลมูลชาติ : [-มูนชาด] (สํา) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
นกกางปีก : น. กลอักษรชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า แสนรักร้อน (ร้อนรัก) หนักอกเอ๋ยฉันใดจะได้ชมชิด (ชิดชม) เชย ไม่ลืมเลย (เลยลืม) ปลื้มอาลัย.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
เรือน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สําหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จํานวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนาม ใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งนาฬิกา ๒ เรือน.
ลักขะ : น. เครื่องหมาย, เป้า; จํานวนแสนหนึ่ง. (ป.; ส. ลกฺษ).
เลือดตากระเด็น : ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหาเงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว.
สน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (Pinus merkusii Jungh. de Vriese), สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (P. kesiya Royle ex Gordon) ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก, พายัพเรียก จ๋วง; สนหางกระรอก (Dacrydium elatum Blume) ในวงศ์ Cupressaceae; สนฉําฉา หรือ สนญี่ปุ่น [Podocarpus macrophyllus (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae; สนทราย หรือ สนสร้อย (Baeckea frutescens L.) ในวงศ์ Myrtaceae; สนทะเล (Casuarina'' equisetifo lia J.R. et G. Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae.
สน ๒ : ก. ร้อยด้วยเชือกหรือด้ายเป็นต้น เช่น สนเข็ม สนตะพาย.
หลัก ๒ : น. ตําแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจํานวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จํานวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่าจํานวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จํานวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจํานวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.
หลัก ๓ : (โบ) ว. จํานวนแสน. (ป. ลกฺข; ส. ลกฺษ).
อกไหม้ไส้ขม : (สำ) ก. เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส.
อบเชย : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinnamomum วงศ์ Lauraceae ใช้ทํายาและปรุงนํ้าหอม เช่น อบเชยญวน หรือ ฝนแสนห่า (C. bejolghota Sweet), อบเชยจีน (C. aromaticum Nees), อบเชยเทศ (C. verum J. Presl).
อัพพุท : น. ชื่อสังขยาจํานวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือ โกฏิยกกําลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
อัษฎายุธ, อัษฎาวุธ : น. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบ และเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสน พลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวาย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.
อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
สนตะพาย : ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วยความจําใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
สนเข็ม : ก. ร้อยด้ายหรือไหมเป็นต้นเข้าไปในรูเข็ม.
สนทรรศน์ : [ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).
น้ำมันสน : น. นํ้ามันระเหยง่ายที่ได้จากการกลั่นยางสนเขา.
สนแผง, สนหางสิงห์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Thuja orientalis L. ในวงศ์ Cupressaceae ใบเป็นแผง ใบและเมล็ดใช้ทํายาได้.
สร้อยสน : น. สร้อยที่ถักเป็นลายคดกริช; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
สั่น : ก. ไหวถี่ ๆ เช่น กลัวจนตัวสั่น หนาวจนคางสั่น, ทําให้ไหวถี่ ๆ เช่น สั่นกระดิ่ง สั่นหัว.
กุศล : [-สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. ว. ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).
กุสล : [-สน] (โบ) น. กุศล. (ป.; ส. กุศล).
โกศล : [-สน] ว. ฉลาด. (ส.).
จ๋วง :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นสนเขา. (ดู สน๑).
หางสิงห์ : น. สนหางสิงห์. (ดู สนหางสิงห์ ที่ สน๑).