แหก : ก. แยกออก, ถ่างออก, ทําให้อ้าออก, เช่น แหกขา, ใช้กําลังฟันฝ่าออกไป เช่น แหกคุก กองทหารตีแหกวงล้อมข้าศึกออกไป.
แหกขี้ตา : (ปาก) ก. รีบร้อน เช่น แหกขี้ตามาแต่เช้า.
แหกตา : ก. ใช้มือถ่างเปลือกตาออก, โดยปริยายหมายความว่า ลืมตา (ใช้ในเชิงประชด) เช่น แหกตาดูเสียบ้างซิ, หลอก เช่น ถูกแม่ค้าแหกตา.
ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
หน้าแหก : (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
หก ๒ : น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Psittacidae หัวโต ปากหนา ใหญ่ ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทํารังในโพรงไม้ มักเกาะห้อย หัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่ (Psittinus cyanurus) หกเล็กปากแดง (Loriculus vernalis) และหกเล็ก ปากดํา (L. galgulus).
หก ๓ : น. จํานวนห้าบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๖ ตกในราวเดือน พฤษภาคม.
หกคะเมน : ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือ ทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางที ใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
หกเหียน : น. เรียกไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา ว่า ไม้หกเหียน.
ตรีโลหก : [-หก] น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลหก).
กระดานหก : น. เครื่องดักสัตว์อย่างหนึ่งทําด้วยไม้กระดาน หกได้; เครื่องเล่นสำหรับเด็กอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นไม้กระดาน ระหว่าง กึ่งกลางความยาวของไม้มีขาซึ่งตรึงติดกับแผ่นไม้ ผู้เล่นนั่งที่ปลายไม้ ทั้ง ๒ ข้างผลัดกันกระดกไม้กระดานให้ขึ้นลง.
น้ำลายหก, น้ำลายไหล : (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากได้จนนํ้าลายหก.
ปฏิคาหก : น. ผู้รับทาน. (ป. ปฏิคฺคาหก).
พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
ระหกระเหิน : ก. ด้นดั้นไปด้วยความลําบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลําบากยากเย็น, เช่น ชีวิตของเขาต้องระหกระเหินอยู่ตลอดเวลา, ระเหินระหก ก็ใช้.
ระเหินระหก : ก. ด้นดั้นไปด้วยความลำบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลำบากยากเย็น, ระหกระเหิน ก็ใช้.
หัวหกก้นขวิด : (สํา) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจ ใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตาม ความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.
หายหกตกหล่น : (สำ) ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่ กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.
เงินน้ำห้าน้ำหก : (โบ) น. เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง.
ไม้หกเหียน : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
สะพานหก : น. สะพานที่สร้างให้ส่วนหนึ่งยกขึ้นได้เพื่อเปิดทางให้เรือ แล่นผ่าน.
ษัฏ : ว. หก. (ใช้ในคําสมาส เมื่อนําหน้าพยัญชนะพวกอโฆษะ). (ส.; ป. ฉ).
ษัฑ : ว. หก. (ใช้ในคําสมาส เมื่อนําหน้าพยัญชนะพวกโฆษะ เว้นจาก ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).
ษัณ : ว. หก. (ใช้ในคําสมาส เมื่อนําหน้าตัว ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).
ษัษ : ว. หก. (คําสมาสใช้ ษัฏ บ้าง ษัฑ บ้าง ษัณ บ้างตามวิธีสนธิ). (ส.; ป. ฉ).
นิคาหก, นิคาหก : [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
หกโล่ : [หกกะโล่] ก. หกกลิ้ง. (ต. โล่ ว่า กลิ้ง).
กะเรี่ยกะราด : ว. เรี่ยราย, กระจัดกระจาย, หกเรี่ยราด; วางหน้าไม่สนิท.
กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
โกหก : ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). (ป., ส. กุหก).
เขี้ยวหนุมาน : น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอด แหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาว ขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
จ้ำเบ้า : ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
จูบฝุ่น : (ปาก) ก. หกล้มหน้าควํ่า.
เจ็ด : น. จํานวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราว เดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิง คนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).
ฉ ๒ : [ฉอ, ฉ้อ, ฉะ] ว. หก, สําหรับประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป.).
ฉักกะ : (แบบ) น. หมวด ๖ คือ รวมสิ่งละหก ๆ. (ป.).
ฉันวุติ : [ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).
ชรแร่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. แบ่ง, แยก, เช่น ฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู. (แช่งนํ้า).
ฑาหก : [ทาหก] น. ผู้เผา; ไฟ. (ป.).
ตรลบ : [ตฺระหฺลบ] (กลอน) ก. ตลบ, เอาข่ายครอบนก. ว. หกหลังมา; กลับ ย้อนหลัง; ฟุ้ง.
ตลบ : [ตะหฺลบ] ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับ ไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง; ยกกลับ, หกกลับ, เช่น ตีตลบ; ย้อนกลับไปกลับมา เช่น เดินเสียหลายตลบ ฝุ่นตลบ; ฟุ้งไป, กระจายไป, (ใช้แก่กลิ่น), กลบ ก็ว่า.
ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
ทองดอกบวบ : น. ทองเนื้อหก มีสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ.
ท่าวทบระนับ : (กลอน) ก. ล้มหกคะเมนทับกัน.
ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
ผก : ก. หกกลับ, ปก; (ถิ่นพายัพ) แอบ, ซ่อน, ดัก.
พลัดที่นาคาที่อยู่ : (สํา) ก. พลัดพรากจากถิ่นฐานเดิม, ระหกระเหิน.
พิหค : [พิหก] น. นก. (ป., ส. วิหค).