โกรก : [โกฺรก] ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกน้ำ, เทให้ไหลลงไป เช่น เอาน้ำโกรกหัว; เลื่อยกระดานไปตามยาว หรือตามแนวที่กําหนด เช่น โกรกไม้; พัดอยู่เรื่อย ๆ เช่น ลมโกรก. น. ซอกลึกของเขา, โตรก ก็ว่า.
โกรกไกร : น. โตรกไตร, โกรก หรือ โตรก ก็ว่า.
โกรกกราก : [โกฺรกกฺราก] น. ชื่อเครื่องมือสําหรับไชไม้; กระบอกไม้ไผ่ มีหลักปักอยู่กลางเติ่งสําหรับทอดดวด. (รูปภาพ โกรกกราก)
โกรกหวัด : ก. โกรกหัวโดยใช้น้ำต้มกับหัวหอมและ ใบมะขามเพื่อแก้หวัด.
ลมโกรก : น. ลมที่พัดอยู่เรื่อย ๆ.
กรก, กรก- : [กะหฺรก, กะระกะ-] (แบบ) น. ลูกเห็บ เช่น กรกวรรษ = ฝนลูกเห็บ. (ป., ส.).
โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
เลื่อยฉลุ : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิด หนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลาย ตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบน ขนาดเล็ก.
เลื่อยโยง : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่าง ผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อย ให้ทำงาน.
เลื่อยหางหนู : น. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาวปลายเรียวแหลมที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอ สำหรับจับ.
เลื่อยอก : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือโกรกไม้ ลักษณะคล้ายเลื่อยชัก แต่ขนาดย่อมและสั้นกว่า.
ธมกรก : [ทะมะกะหฺรก] น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑ อย่างในอัฐบริขาร; เครื่องกรองนํ้าด้วยลมเป่า; กระบอกก้นหุ้มผ้า. (ป.).
กรัก : [กฺรัก] น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า; (โบ) โรงกรัก คือ โรงที่ต้มกรักในวัด. (ตะเลง ว่า แก่นไม้; ข. กราก่ ว่า แก่นขนุน).
กริก, กริ๊ก : [กฺริก, กฺริ๊ก] ว. เสียงของแข็ง เช่น แก้ว โลหะ กระทบกัน.
กรุก : [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
เกริก : [เกฺริก] ว. กึกก้อง, ดังสนั่น, เลื่องลือ, ยิ่ง.
แกรก : [แกฺรก] ว. เสียงดังเหมือนเล็บขูดพื้น, เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากการ ย่องหรือเล็ดลอด.
บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
สมณบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).
อัฐบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. อฏฺ?ปริขาร).